Feature stories

สร้างคอนเทนต์ให้น่าสนใจด้วยเทคนิคการเล่าแบบภาพยนตร์

Share on facebook
Share on twitter
Share on email

หัวข้อที่น่าสนใจ

คอนเทนต์จะน่าสนใจด้วยการใช้หลักของภาพนตร์ 

หากเราพูดถึงคำว่า “คอนเทนต์” แปลความหมายได้ตรงตัวเลยก็คือ การสร้างเรื่องราว ซึ่งพอยท์ของเรื่องราว สิ่งสำคัญคือต้องมีความน่าสนใจ วันนี้แอดจะมาพูดถึงอีกหนึ่งเทคนิคที่คนส่วนใหญ่เลือกที่จะใช้ในการสร้างคอนเทนต์ให้มีคนติดตามเยอะ

 การเล่าเรื่องโดยใช้ศาสตร์ของ “ภาพยนตร์” สามารถตรึงคนดูให้อยู่กับเรื่องราวบางอย่างได้เป็นเวลานานๆ ด้วยองค์ประกอบหลายๆอย่างช่วยให้สื่อถึงเรื่องนั้นๆได้ไม่น่าเบื่อ พี่ๆน้องๆสายเขียนบทและกำกับภาพยนตร์คงจะคุ้นเคยกับพื้นฐานการเล่าเรื่องของภาพยนตร์แบบ 5 ขั้นตอนกันบ้างแล้ว วันนี้จะมาเล่าให้พี่ๆน้องๆสายมาร์เก็ตติ้งเพื่อทำความเข้าใจถึงกระบวนการการคิดในแต่ละขั้นตอนกันค่ะ จะมีอะไรบ้างเราไปเริ่มกันเลยดีกว่า

1. Background

ทุกอย่างจะเริ่มต้นด้วยการแนะนำ หรือการเล่า “Background” ของบุคคลหรือสินค้าที่จะเป็นตัวนำเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นคอนเทนต์อะไรก็ตาม สิ่งแรกเราต้องทำให้ผู้ชมรับรู้ก่อนว่าสิ่งที่เรากำลังจะเล่าคืออะไร ถ้ามองในเชิงของภาพยนตร์ มันเทียบได้กับการแนะนำถึงสถานที่ ตัวละคร เวลา หรือแม้แต่สภาพแวดล้อมเพื่อให้เข้าใจถึงภาพโดยรวมคร่าวๆ กลับมาในมุมของการทำคอนเทนต์ เราจะต้องเล่าถึงสิ่งที่แบรนด์ต้องการจะสื่อ ยกตัวอย่างว่าเราทำคอนเทนต์ให้กับฟิตเนส เราก็ต้องพูดถึงเรื่อง วิธีการออกกำลังกาย ปัญหาของคนที่มีน้ำหนักมาก อาหารที่เราควรรับประทาน เป็นหัวข้อใหญ่ๆ เพื่อผู้ชมจะได้รับรู้ว่าเรื่องทั้งหมดมันเกี่ยวกับอะไร

2. Raising Action

หลังจากที่เราปูเรื่องเสร็จ สเต็ปต่อมาคือการผูกปมของเรื่อง หรือทำให้เกิดความขัดแย้ง พูดให้เข้าใจในภาษาบ้านๆก็คือ การทำให้ผู้ชมรับรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้น กระบวนการส่วนนี้ถือว่าเป็นส่วนสำคัญเลยก็ว่าได้ เพราะมันบอกถึงจุดเริ่มต้นของการริเริ่มที่จะหาหนทางการเปลี่ยนแปลง สิ่งสำคัญก็คือ หากพี่ๆน้องๆคนไหนสามารถคิดเงื่อนไขที่ตรงใจกับความต้องการของผู้บริโภคได้ มันก็คงไม่ใช่เรื่องยากที่จะดึงความสนใจของกลุ่มเป้าหมายได้ 

3. Climax

พาร์ทต่อไปจะเป็นพาร์ทที่สร้างความตื่นเต้นให้กับผู้ชมได้มากที่สุด ในการสร้างภาพยนตร์ กระบวนการนี้คือการสร้างเหตุการณ์ที่ให้ตัวละครเผชิญหน้ากับปัญหา ทำให้ผู้ชมเกิดการคิดวิเคราะห์ว่าเนื้อเรื่องจะทำอย่างไรต่อ จุดจบจะเป็นอย่างไร ถ้าในด้านของการทำคอนเทนต์ มันคือพาร์ทของการให้ข้อมูล เป็นเหมือนการนำเสนอแนวทางให้ผู้ชมเกิดการวิเคราะห์และคิดตามเช่นกัน ยกตัวอย่างการสร้างคอนเทนต์ให้กับฟิตเนส ผู้ทำคอนเทนต์จะมีตัวเลือกในการออกกำลังกายหรือจะเลือกวิธีลดจากการกินยาลดความอ้วน ทำให้ผู้ชมสามารถรับรู้ได้ว่ามันมีตัวเลือกนะ

4. Falling Action 

หลังจากที่เราสร้างให้มีตัวเลือก ต่อจากนี้จะเป็นกระบวนการการบีบให้ตัวละครต้องเลือกเส้นทางนั้นๆเพียงเส้นทางเดียวเพื่อให้บรรลุเป้าหมายจากปมปัญหาที่เราวางไว้ตั้งแต่ตอนต้นเรื่อง การทำคอนเทนต์ก็เช่นกัน เมื่อเรานำเสนอทางเลือกที่ดีกว่า จากนั้นผู้ชมจะรับรู้ได้เองว่าอะไรที่เหมาะสมที่สุด ทริคของการสร้างคอนเทนต์ส่วนนี้คือเราต้องนำเสนอช่องทางที่จะช่วยแก้ปัญหาให้เขาได้ง่ายและดีที่สุดเพียง

ตัวเลือกเดียว เช่น เรานำเสนอว่าการทางเลือกออกกำลังกายดีกว่าการกินยาลดน้ำหนักเพราะมันปลอดภัยกว่า ไม่โยโย่ ไม่เสี่ยงต่อการมีโรคแทรกซ้อน

5. Resolution

และแน่นอน ส่วนสุดท้ายที่เราต้องนำเสนอก็คือการเล่าถึงสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากตัวละครได้คลายปมปัญหาทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นอย่างไรต่อ จะมีทั้งจบแบบแฮปปี้เอ็นดิ้ง หรือ จบแบบให้คนไปคิดต่อเอาเองปล่อยให้เป็นเงื่อนงำ ก็ขึ้นอยู่กับตัวผู้เขียนนั่นเอง แต่ในทางของการเขียนคอนเทนต์นั้น เมื่อผู้ชมเลือกเส้นทางที่เรานำเสนอไปแล้ว เราก็จะเล่าถึงสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อให้ผู้ชมยังคงไว้ในและเชื่อมั่นในเส้นทางที่เขาได้เลือก ในพาร์ทนี้หากเราสร้างตอนจบคอนเทนต์ที่ดี โอกาสที่ผู้ชมเหล่านี้จะนำไปเล่าต่อและทำให้เกิดเป็นกระแสโซเชียล(ในทางที่ดี)ได้อีกด้วย