Feature stories

Virtual Influencer กับ Vtuber คนดังเสมือนจริงสไตล์เมต้าเวิร์ส ต่างกันตรงไหน?

Virtual Influencer กับ Vtuber คนดังเสมือนจริงสไตล์เมต้าเวิร์ส ต่างกันตรงไหน?

Share on facebook
Share on twitter
Share on email

หัวข้อที่น่าสนใจ

“Influencer” ในตอนนี้ถือเป็นการทำการตลาดยอดฮิต และอาชีพใหม่ที่ใครหลาย ๆ คนคงหันมาทำ เพราะเป็นอาชีพที่ใครทำก็ได้ ขอแค่เป็นคนที่มีความสามารถ มีความครีเอทีฟ และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่โดดเด่น หรืออีกอาชีพหนึ่งที่ได้รับความนิยมไม่แพ้อาชีพอินฟลูฯ และเราไม่พูดถึงไม่ได้ก็คือ อาชีพยูทูบเบอร์ (Youtuber) หรือ Content Creator นักสร้างสรรค์คอนเทนต์สไตล์วิดีโอบน Youtube  

ซึ่งทั้งสองอาชีพนี้ไม่ได้จำกัดเพียงแค่เป็นคนเท่านั้น แต่ขอแค่มีความเป็นตัวเองก็พอ ทำให้ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย จึงมีการนำ AI มาประยุกต์ใช้ในการทำอาชีพอินฟลูเอนเซอร์ จนกลายเป็น AI Influencer หรือ Virtual Influencer ส่วนยูทูบเบอร์จะเรียกว่า วีทูปเบอร์ (Vtuber) โดยสโคปงานของทั้งคู่อาจฟังแล้วดูคล้ายกัน เพราะงั้นเราเลยจะมาแยกความเหมือน ความแตกต่างของเวอร์ชวลอินฟลูเอนเซอร์ และวีทูปเบอร์ รวมถึงข้อดี และบทบาทสำคัญที่มีการนำมาใช้ในการตลาดมาให้ทุกคนดูกัน ถ้าพร้อมแล้วก็ไปดูด้วยกันกับเราได้เลย!

Virtual Influencer – ไอดอลโลกเสมือน มีชื่อเสียงแต่ไร้ชีวิต 

Virtual Influencer เป็น AI Influencer คืออินฟลูเอนเซอร์เสมือนจริง หรือพูดง่าย ๆ คืออินฟลูเอนเซอร์ที่เรารู้จักกันแบบปกติ แต่ใช้เทคโนโลยี CGI หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาสร้างให้เหมือนคนจริง ๆ จนเรารู้สึกเหมือนว่า อินฟลูเอนเซอร์คนนี้มีตัวตนอยู่จริง! 

โดยคาแรกเตอร์ของแต่ละคนนั้นจะแตกต่างกันออกไปตามการวางคอนเซปต์ของผู้พัฒนา ไม่ว่าจะเป็นบุคลิกน่ารัก ลุคสวยเฉี่ยว ลุคหล่อสไตล์อปป้า ฯลฯ ซึ่งการทำงานก็จะเหมือนอินฟลูเอนเซอร์ทั่วไป คือ รับงานโฆษณา, รีวิวสินค้า, ถ่ายรูป เป็นต้น ทำให้เราพบเห็นเวอร์ชวลอินฟลูเอนเซอร์ได้ในโลกโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, Tiktok, Youtube หรือเข้าร่วมงานกิจกรรมต่าง ๆ

จริง ๆ แล้ว เวอร์ชวลอินฟลูเอนเซอร์นั้นไม่ได้พึ่งเกิดขึ้นมา แต่ที่จริงแล้วมีตั้งแต่ปี 2002 เลยนะ มีแนวคิดจากหนังเรื่อง “SIMONE” ที่ผู้กำกับใช้นักแสดงเสมือนจริงอย่าง ‘ซีโมน’ แทนการใช้คนแสดงจริง ทำให้หนังเรื่องนี้ช่วยจุดประกายของการเกิดเวอร์ชวลอินฟลูเอนเซอร์ เลยก็ว่าได้

Vtuber – ยูทูบเบอร์เสมือนจริง มีตัวตนแต่ยากที่จะเปิดเผยตัวจริง 

ใครที่เป็นสายชอบเลื่อนดูคลิปในยูทูบ คงจะรู้จักกันดีกับ ยูทูบเบอร์ (Youtuber) นักสร้างสรรค์คอนเทนต์ไม่ว่าจะเป็น Vlog, วิดีโอไลฟ์สไตล์, ร้องเพลง, เล่นเกม ฯลฯ  ซึ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการใช้ชีวิตมากขึ้น จึงมีการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในวงการยูทูบเบอร์ ทำให้เราสามารถไม่ต้องเปิดเผยหน้าจริง ๆ ของตนเอง แต่จะใช้คาแรกเตอร์โมเดลแทนตัวเอง ซึ่งตัวโมเดลที่เราสร้างนั้นจะขยับตามตัวเราจริง ๆ จนเกิดเป็น “Virtual Youtuber หรือ Vtuber” นั่นเอง 

ซึ่งวีทูบเบอร์คนแรกที่เป็นผู้ริเริ่มวงการนี้ คือ Ami Yamato ยูทูบเบอร์ชาวญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ประเทศอังกฤษมาอย่างยาวนาน จนสามารถประยุกต์นำความรู้มาสร้างคาแรกเตอร์ Virtual Reality แทนตัวเองออกสื่อเป็นคนแรก 

ความเหมือนและความแตกต่างของ Virtual Influencer และ Vtuber

1. การใช้เทคโนโลยี และการมีตัวตน

ทั้งเวอร์ชวลอินฟลูเอนเซอร์ และวีทูปเบอร์มีความคล้ายคลึงกันอย่างมากเพราะมีการใช้เทคโนโลยีมาร่วมกับการทำอาชีพ โดยจะใช้เทคโนโลยี และขั้นตอนการสร้างแตกต่างกัน แต่ทีมงานที่ร่วมพัฒนามีสายงานคล้ายกัน โดยเวอร์ชวลอินฟลูเอนเซอร์นั้นจะใช้เทคโนโลยีกราฟิก CGI (Computer-generated image) ร่วมกับทีมงานศิลปินนักออกแบบสามมิติ (3D Artist) เพื่อสร้างคาแรกเตอร์ AI Influencer ส่วนการสร้างวีทูบเบอร์ มีขั้นตอนการสร้างคาแรกเตอร์ 3 ขั้นตอนหลัก ได้แก่

การออกแบบและสร้างคาแรกเตอร์โมเดล (Character Model) หรืออวตาร์ (Avatar), การจับการเคลื่อนไหว เพื่อให้คาแรกเตอร์ขยับตามนักแสดง (Motion Capture) และการใช้โปรแกรมสตรีม (Broadcast App)

ส่วนการมีชีวิตและตัวตนของ Virtual Influencer และ Vtuber ทั้งสองอาชีพนี้เป็นผู้ที่มีอิทธิพล หรือผู้มีชื่อเสียงทั้งคู่ ซึ่งเวอร์ชวลอินฟลูเอนเซอร์เป็นอินฟลูเอนเซอร์ที่ไม่ได้มีตัวตนอยู่จริง แต่ผู้พัฒนาจะออกแบบนิสัย ภาพลักษณ์ให้ว่าอินฟลูเอนเซอร์จะแสดงหรือมีความคิดอย่างไรเมื่อเจอสิ่งต่าง ๆ ต่างจากวีทูปเบอร์ที่มีคนจริง ๆ เข้ามาสวมบทบาทเป็นตัวละคร ซึ่งการเป็นวีทูบเบอร์ นั้นสามารถเปิดเผยตัวจริงได้ หรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่าวีทูปเบอร์คนนั้นสังกัดอิสระ หรือร่วมกับองค์กร ซึ่งส่วนใหญ่บริษัทใหญ่ชื่อดังจะมีสัญญาไม่ให้วีทูบเบอร์เปิดเผยตัวตนจริง ๆ ของตัวเอง ทำให้เราเห็นข่าวบริษัทออกมาปลดวีทูบเบอร์ในสังกัดที่มีการเปิดเผยตัวตนนั่นเอง

2. ความสัมพันธ์ต่อผู้อื่น และบทบาทที่แสดงออกต่อสื่อ

ในสายงานอินฟลูเอนเซอร์ และยูทูบเบอร์ เราคงได้เห็นว่า บางครั้งก็มีคอนเทนต์ที่มีการคอลเลบกัน เพื่อสร้างสรรค์ให้คอนเทนต์ของเราต่างจากแบบเดิม รวมถึงทำให้ผู้ที่เข้ามาติดตามเราได้เห็นคอนเทนต์ครีเอทีฟใหม่ ๆ ซึ่งสาย Virtual Influencer กับ Vtuber ก็มีเหมือนกันนะ ที่มีการทำคอนเทนต์ร่วมกับเพื่อน, คนรัก,  แบรนด์ ฯลฯ  ไม่ว่าจะเป็น การร้องเพลง, เล่นเกม, ทำแคมเปญกิจกรรมต่าง ๆ เป็นต้น 

อีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจคือ Virtual Influencer กับ Vtuber มีบทบาทและสามารถแสดงออกสื่อได้มากขนาดไหน? หลายคนคงคิดว่า AI Influencer เป็นแค่อินฟลูเสมือนจริง ไม่ได้มีตัวตน หรือมีจิตใจอะไร แต่! ในปัจจุบันเวอร์ชวลอินฟลูเอนเซอร์นั้นมีมากกว่านั้น ไม่ว่าจะเป็น ข่าวรักสุดโรแมนติกของ Zin และ Ria สองเวอร์ชวลอินฟลูเอนเซอร์ญี่ปุ่นที่เป็นคนรักกัน,  ข่าวเปิดตัวครอบครัวพ่อ และพี่สาวของน้องวันนี้ ที่เป็นเวอร์ชวลอินฟลูเอนเซอร์ของไทย หรือข่าวแสดงการสนับสนุนกลุ่ม LGBTQ+ ของ Li Miquela เป็นต้น ส่วนวีทูปเบอร์นั้นจะมีบทบาทที่แสดงออกต่อสื่อที่น้อยกว่า 

1aueTcPTuveN71PiXKiiyzywHFkL6BeKkqZSMhxeFT4kCz13 k9hlH7BcIfm3bTDW1 V8XqavF y5BDHq3A Xf qUJGrDr2qFVRZYiHJNbORKgwgYONCstq66 bkntvshr653s

Zin & Ria Virtual Influencer ของญี่ปุ่น (ภาพจาก Virtual Human)

aIjVBBpy3y5PkWzz6s7pKKeW136QeW0Jj8dsM7rukQ1BSR0Ftm3qQkycNvlHwXAvXBo96hinS64B7BzQfbVB L z088u6quhMLVZTE xqWDWN 0pVO2L4 MRbFXjhzuj1SqNDSg

ครอบครัวของน้องวันนี้ Virtual Influencer (ภาพจาก Thai PBS)

3.สายงานคล้ายกัน กลุ่มเป้าหมายจึงต่างกัน

ถึงแม้สายงานของเวอร์ชวลอินฟลูเอนเซอร์ และวีทูปเบอร์จะมีความคล้ายคลึงกัน เพราะอินฟลูเอนเซอร์บางครั้งก็ต้องสร้างสรรค์คอนเทนต์ ในทางกลับกันยูทูบเบอร์ก็ต้องสร้างความโดดเด่น เป็นเอกลักษณ์เหมือนกับอินฟลูฯ แต่กลุ่มเป้าหมาย และผู้ติดตามของทั้งคู่จะแตกต่างได้อย่างชัดเจน เนื่องจากงานอินฟลูเอนเซอร์ส่วนใหญ่เป็นงานแนว Lifestyle – Beauty, การร่วมโปรโมทสินค้า เช่น รีวิวสินค้า, นักแสดงในโฆษณา, แบรนด์แอมบาสเดอร์ (Brand Ambassador) ทำให้กลุ่มเป้าหมายมักเป็นคนทั่วไปที่สนใจด้านไลฟ์สไตล์, แฟชั่นและบิวตี้

ต่างจาก Vtuber ที่จะเน้นงานสร้างสรรค์คอนเทนต์บันเทิงประเภทสื่อวิดีโอ เช่น ร้องเพลง, พูดคุย, เล่นเกม, ASMR, ไลฟ์สไตล์ ฯลฯ ทำให้กลุ่มเป้าหมายของวีทูปเบอร์ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มลูกค้าตลาดอนิเมชันญี่ปุ่น, การ์ตูน และเกมซะส่วนใหญ่ ดังนั้นคอนเทนต์โฆษณาโปรโมทแบรนด์นั้นจะแตกต่างจากอินฟลูฯนั่นเอง 

ความแตกต่างอีกข้อนึงของทั้งสองอาชีพคือ “ความเข้าถึงของแฟนคลับ” จะเห็นได้ว่าเวอร์ชวลอินฟลูเอนเซอร์จะให้ความรู้สึกเหมือนเป็นดาราคนนึง ที่เราสามารถพบเจอได้เมื่อมีการจัดงาน Meet & Greet แต่อาจมีข้อจำกัดมากกว่าอินฟลูเอนเซอร์ปกติ ส่วนวีทูปเบอร์ที่เป็นยูทูบเบอร์ โดยเราสามารถเข้าไปปฏิสัมพันธ์พูดคุย, ส่งกำลังใจไปทางโดเนท (Donate) 

ทำไมแบรนด์ถึงเลือกใช้ Virtual Influencer และ Vtuber ?

– รูปลักษณ์หน้าตาเหมือนเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง

เนื่องจากการทำ AI Influencer และ  Vtuber นั้นใช้เทคโนโลยีซอฟแวร์กราฟิกช่วยสร้างคาแรกเตอร์ ทำให้คาแรกเตอร์โมเดลที่สร้างจะเป็นแบบที่เรากำหนด

– ควบคุมทุกอย่างให้เป็นไปตามที่เรากำหนดได้ และมีความเสี่ยงน้อยที่จะเสียชื่อเสียง 

Virtual Influencer นั้นเป็นอินฟลูเอนเซอร์ที่อยู่ในสังกัดของผู้สร้าง ทำให้ต้นสังกัดสามารถควบคุมพฤติกรรม และความคิดที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะเกิดชื่อเสียงด้านแย่ ๆ ได้ อีกทั้งยังมีความยืดหยุ่นในการทำงาน เนื่องจากไม่มีข้อจำกัดด้านเวลาการทำงาน เช่น ไม่เจ็บป่วย, ไม่มีลาพักผ่อน หรือการลากิจไปทำธุระส่วนตัว  ส่วน Vtuber นั้นจะมีความเสี่ยงที่จะเสียชื่อเสียงน้อยกว่า เช่น ถ้าตัวตนจริง ๆ สร้างปัญหา ก็อาจจะกระทบน้อยกว่ายูทูบเบอร์ปกติ ในกรณีที่วีทูปเบอร์ปกปิดตัวตน

– ช่วยรักษาภาพลักษณ์ และเปลี่ยนภาพลักษณ์ให้ดูทันสมัยยิ่งขึ้น

ยุคนี้ใคร ๆ ก็รู้ว่าตอนนี้กำลังเข้าสู่ยุคที่เทคโนโลยีก้าวไกล หรือเป็นยุคเมต้าเวิร์สอย่างที่คุณมาร์คซักเคอร์เบิร์กบอกไว้ ซึ่งทั้งสองอาชีพนี้ได้มีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้เกิดภาพลักษณ์ที่ทันสมัย หลายแบรนด์ที่สนใจอยากปรับภาพลักษณ์ของตนเองหันมาใช้เวอร์ชวลอินฟลูเอนเซอร์ และวีทูปเบอร์ด้วยนั่นเอง

– เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายคนรุ่นใหม่ได้ดี (อายุระหว่าง 18 – 24 ปี)

เรื่องเทคโนโลยี ถือเป็นเรื่องใกล้ตัวของคนรุ่นใหม่ รวมถึงไลฟ์สไตล์ของคนยุคนี้มักเท่าทันสถานการณ์ต่าง ๆ จึงไม่แปลกนักที่การนำสองอาชีพนี้มาใช้ในการตลาดจะเข้าถึงได้ง่ายกับกลุ่มเป้าหมายนี้ 

ปัจจุบันแบรนด์ไหนในไทยที่ร่วมงานกับ Virtual Influencer และ Vtuber 

AIS & TRUE – เปิดตัว 5G ด้วย Virtual Influencer เป็น Brand Ambassador

สองแบรนด์ดังเจ้าใหญ่ด้านการสื่อสารออกมาโปรโมทเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 5G ในไทยโดยเกาะกระแสเทรนด์ Metaverse โดยใช้ Virtual Influencer มาเป็น Metaversified Brand Ambassador โดยแบรนด์ AIS ได้ส่ง “ไอร์ ไอรีน” มาเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ ใน AIS Family คนใหม่ ที่ใช้คอนเซปว่า เอไอเอสจะสร้าง Community โลกเสมือนในทุกรูปแบบ พร้อมมอบประสบการณ์ดิจิทัลสุดล้ำของโลกอนาคต ส่วนแบรนด์ True ก็ไม่น้อยหน้า เพราะได้ส่ง “อิมมะ (IMMA)” ที่เป็นเวอร์ชวลอินฟลูเอนเซอร์คนแรกของเอเชีย และเคยทำงานร่วมกับแบรนด์ดังระดับโลกหลายแห่งมาเป็น Brand Ambassador อีกด้วย

AIS – เปิดตัวน้องไอร์ ไอรีน Virtual Influencer คนแรกของไทยเป็น Brand Ambassador  (ภาพจาก Sanook)

lFbO 4YVqsjDVa7Q iYOXvnRtkE90IPG RCPUL2JedqObaO1Xwx8pAwPNrYGHFPj3y88TiRyKKmo6H JbK80AsF W2765gc OT 4W78MvEmAUhyeBgh GLg gV J4BuEiKWg5cw

True – ท้าชิงเปิดตัว 5G โดย IMMA Virtual Influencer เป็น Brand Ambassador  (ภาพจาก Sanook)

ANNADA – ส่งตัว “วันนี้ (Wunni)” Virtual Influencer ด้านอสังหาฯไทยคนแรก

น้องวันนี้ เวอร์ชวลอินฟลูเอนเซอร์คาแรกเตอร์สวยน่ารัก เข้าถึงง่ายเป็นพรีเซ็นเตอร์ของบริษัทอนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ที่ได้  ‘คุณพงศ์อนันต์ สุขเกษม’ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโสของฝ่ายการตลาดออกมาบอกเล่า แนวคิดการสร้างน้องวันนี้ไว้ว่า เนื่องจากเป้าหมายหลักของอนันดาฯ ปรับตัวให้เข้ากับยุคดิจิทัลที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ซึ่งการสร้าง Virtual Human Presenter เพื่อให้สื่อสาร และแบ่งปันประสบการณ์ร่วมกับกลุ่มคนรุ่นใหม่ (Gen C) นั่นเอง

Mv0ERwg960gtkYBkj QK3hZOjFmskFJuuyTTXweL AVuRdycftgqNUd390ofeZXT k9 V4Ls j0MzaZBMSEAJK7iAEl7A7BTH85d8b0Cy0MQR77T2u40YlvH8s Tu6h6wBguIJo

วันนี้ (Wanni) Virtual Human Presenter ของบริษัทอนันดา (ภาพจาก Annada)

FarmHouse – สร้างความสดใสให้แบรนด์ด้วย Vtuber น้องฟูมิ 

เมื่อพูดถึงแบรนด์ขนมปังที่อยู่ในท้องตลาด เราคงต้องนึกถึงแบรนด์ “ฟาร์มเฮ้าส์” หนึ่งในแบรนด์ขนมปังที่อยู่คู่กับคนไทยมาอย่างยาว ซึ่งเมื่อฟาร์มเฮ้าส์ครบรอบ 40 ปี แบรนด์ได้พลิกโฉมใหม่! เปลี่ยนภาพลักษณ์ตัวเองให้ทันสมัย เข้าถึงง่ายด้วย “น้องฟูมิ เฮ้าสุ (FUMI HAUSU)” โดยมีคอนเซปต์คือ Let’s Freshpiness ความสุขสดใหม่ได้ทุกวัน อีกทั้งเลือกใช้เทคโลโย Virtual Reality และกระแสของโลกเมต้าเวิร์ส และกลุ่มเป้าหมายที่มักเป็นกลุ่มวัยรุ่น และวัยทำงาน ทำให้เกิดเป็น Vtuber ที่สามารถเป็นตัวแทนช่วยสื่อสารให้แบรนด์ และเข้าถึงคนกลุ่มนี้ได้ง่ายนั่นเอง

JKA2GkxMSDDOm 2IOaC78QH4yi7aa TxPYVD10kSwQgxphtrzBlcDHr9z5E

ฟูมิ เฮาสุ Vtuber เป็น AI Virtual Brand Ambassador ประจำแบรนด์ FarmHouse

(ภาพจาก Online Station)

ทุกวันนี้จะเห็นได้ว่าสังคมเริ่มมีการนำ AI หรือ Artificial Intelligence มาใช้แทนคนในหลากหลายอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักรในโรงงาน, พนักงานเสิร์ฟ รวมไปถึง Virtual Influencer, Vtuber จนหลายคนเริ่มคิดแล้วสายงานอาชีพเราจะมี AI เข้ามาแทนที่รึเปล่า? แต่เราก็คงต้องดูต่อไปกันต่อไปว่า ควรปรับแนวทางพัฒนาตัวเอง และเสริมทักษะต่อไปอย่างไร

ถ้าอยากติดตามบทความดีๆ สามารถไปอ่านต่อได้ที่ link

Contact US

Line Official : https://lin.ee/Qtmh0wh

Instagram :

E – mail : masterplanmedia.th@gmail.com

Tel : 090 – 950 – 5544

ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก Adaddict. Marketingoops. Positioningmag. RainmakerVirtualhumans. Workpoint