แน่นอนว่าหากเปิดร้านธุรกิจเกี่ยวกับอาหารไม่ว่าจะประเภทไหนก็จำเป็นที่ต้องทำการตลาดให้เป็นที่รู้จัก โดยเฉพาะกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย.. ถ้าร้านอยู่ในทำเลที่ดีคนเข้าถึงง่ายก็ถือว่าดีและง่ายต่อการทำการตลาดเชิงออฟไลน์
แต่ถ้าร้านคุณอยู่ในทำเลที่ยากต่อการพบเห็นด้วยการสัญจรผ่านหน้าร้าน ทำให้การทำการตลาดจำเป็นต้องพึ่งพาช่องทางออนไลน์มากยิ่งขึ้นและประกอบกับยุคสมัยนี้ที่สื่อออนไลน์เข้าถึงผู้คนได้ง่ายและรวดเร็ว ฉะนั้นไม่ควรมองข้าม.. ลองมาดู 6 ช่องทางออนไลน์ที่เหมาะกับการทำการตลาดให้กับธุรกิจร้านอาหารกัน
- Facebook & Instagram
ด้วยความที่ว่าเป็นโซเชียลมีเดียอันดับหนึ่งในไทย ย่อมทำให้มีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายอยู่ในนั้นมากมาย ร้านไม่ควรมองข้ามที่จะสร้างโปรไฟล์ตัวเองขึ้นมาทั้ง Facebook Fanpage & Instagram เพื่อที่จะได้ทำให้ร้านเรามีตัวตนอย่างเป็นทางการ
ต่อไปคือการบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ผ่านคอนเทนต์(รูปภาพ, ตัวอักษร, วีดีโอ) เพื่อดึงดูดให้กลุ่มลูกค้าเกิดความสนใจหรือแม้แต่การกระตุ้นด้วยโปรโมชั่นต่าง ๆ ได้อีกด้วย.. แต่ในช่วงแรกนั้นคงยากที่จะมีใครมาเห็นคอนเทนต์ อาจจำเป็นต้องใช้บริการ Facebook Ads เพื่อทำให้เกิด Reach, Impression, Engagement
- Influencer
เมื่อการบอกต่อมีผลต่อธุรกิจอาหารในยุคนี้.. แน่นอนว่าเรามักอยากไปกินตามคนที่เราติดตาม หรือชื่นชอบเพราะคิดว่าสิ่งที่เขาพูดต้องจริง และน่าเชื่อถือ..
จึงไม่แปลกที่ยุคนี้หลาย ๆ ธุรกิจหันมาพึ่งพาบริการการรีวิวจากเหล่า Influencer ซึ่งก็มีหลากหลายระดับ ถ้าพูดแล้วอาจจะอ๋อเลยก็คงจะเป็นคนนี้ .. “PEACH
EAT LAEK”
หากร้านต้องการใช้บริการของเหล่า Influencer ก็ลองศึกษาและดูความเหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญ
- Delivery
ในยุคนี้คงหนีไม่พ้นการสั่งอาหารหรือของกินทางออนไลน์ โดยแอพพลิเคชั่นที่หลายคนรู้จักมักคุ้นก็เช่น (GRABFOOD, LINEMAN, FOODPANDA, GET) สี่แบรนด์หลักของวงการเดลิเวอรี่ไทย..
แถมแต่ละแบรนด์ก็แข่งกันทำการตลาด ดันร้านที่เข้าร่วมให้บริการกันอย่างดุเดือด ฉะนั้นนี่คือช่องทางที่จะช่วยเพิ่มยอดขายและการเข้าถึงของกลุ่มลูกค้าได้อย่างดี แต่หากต้องการเข้าร่วมจำเป็นต้องอ่านเงื่อนไขและการเก็บค่าบริการให้ดีเสียก่อนเพื่อประเมินว่าคุ้มค่าไหมในเชิงธุรกิจ
- Google My Business
เป็นอีกช่องทางที่หลายคนมองข้าม หรือไม่ก็ใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ..หากลองมามองในสิ่งที่ต้องทำนั้นคือ
- ปักหมุดบนแผนที่
- ใส่ข้อมูลร้าน (คำอธิบาย, เบอร์โทรศัพท์, เวลาทำการ, ประเภทร้าน)
- รูปภาพต่าง ๆ ของร้าน (เมนู, บรรยากาศร้าน ภายใน-นอก)
โดยในข้อสามนั้นหากลองทำให้เป็นคอนเทนต์ก็จะมีความน่าเชื่อถือและเป็นภาพลักษณ์ที่ดีต่อร้านได้ และเป็นหน้าตาของร้านบนการค้นหาของ Google Search อีกด้วย
- Line Official Account
และนี่คือแอพพลิเคชั่นแชทอันดับหนึ่งในไทย หากจะมองข้ามก็จะดูน่าเสียดายเพราะฟังก์ชั่นเหมาะแก่การทำหน้าที่เป็นตัวซัพพอร์ตโดยให้กลุ่มลูกค้าที่มาใช้บริการเพิ่มการติดตามไว้เพื่อรับข่าวสารจากทางร้าน เช่น โปรโมชั่นต่าง ๆ ซึ่งเทคนิคการเพิ่มผู้ติดตามก็อาจจะเป็นการลด แถม หรือตามที่จะสามารถจัดกิจกรรมกระตุ้นได้ ในเชิงการตลาดนี่คือ Data ที่เหมาะแก่การเก็บอย่างยิ่ง
- Youtube
ตัวเลือกนี้อาจจะไม่ใช่ทุกระดับร้านที่จะทำได้ ..เพราะอาจต้องมีความรู้เรื่องการถ่ายวีดีโอรวมถึงการตัดต่อ.. แต่หากสามารถหาทีมงานภายนอกได้ก็ถือว่าเป็นตัวเลือกที่ดีในการโปรโมท
เพราะสำหรับอาหารแล้วการรีวิวที่ดีต้องยกให้วีดีโอ ..ซึ่งสามารถยั่วยวนความอยากให้กับคนที่รับชมได้ดีกว่าแค่ภาพนิ่งอย่างแน่นอน และ Youtube ยังเป็นช่องทางที่มีผู้คนเข้าชมมากมายในแต่ละวัน
สรุปหน่อย..
เลือกช่องทางที่เหมาะสมกับธุรกิจเราแล้วค่อย ๆ สรุปว่าต้องทำอะไรอย่างไรบ้าง รวมถึงคอนเทนต์ที่อยากสื่อออกไปให้กลุ่มลูกค้าสามารถเข้าถึงได้ง่าย ลองนำไปปรับใช้เชื่อว่าจะเป็นสิ่งที่ดีสำหรับธุรกิจอย่างแน่นอน