storydoing : วันว่าง ๆ ของแต่ละคนทำอะไรกันบ้าง? ดู Netflix Youtube ฟัง podcast พี่อ้อยพี่ฉอด The Ghost Radio อ่านหนังสือ หรือดูรายการวาไรตี้ต่าง ๆ เราเชื่อว่าทุกคนคงชอบฟังเรื่องเล่าจากคนอื่น รวมถึงตัวเราเอง ทำให้เทคนิคการเล่าเรื่อง หรือ Storytelling ถูกนำไปประยุกต์และใช้แพร่หลายในด้านต่าง ๆ เช่น สื่อการเรียน การให้ความรู้ สื่อบันเทิง รวมถึงการตลาดต่าง ๆ
แต่เรื่องของเทคนิค Storytelling นั้น คงเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่นักการตลาด นักลงทุน รวมถึงคนอื่น ๆ ที่พูดกันมาอย่างยาวนาน
แอดมินเลยไปเจออีกหนึ่งเทคนิคอย่าง Storydoing ที่เข้ามาเป็นผู้ท้าชน Storytelling โดยสื่อต่าง ๆ เริ่มหยิบมาใช้กัน แล้วเทคนิคนี้มันดียังไงล่ะ ถ้าต้องเลือกแบบไหนถึงจะโดนใจลูกค้า แถมเวิร์กกว่ากัน? ใครที่สนใจแล้วไปอ่านพร้อมกันเลย!
มากกว่าการเล่าเรื่องกับ Storydoing
อย่างที่ทุกคนรู้จักกันดี Storytelling หรือศาสตร์การเล่าเรื่องที่เหมือนกับการเราดูหนังเรื่องนึง ต้นเรื่องต้องมีตัวละครหลัก เส้นเรื่องการดำเนินเรื่องไปจนถึงจุดพีค และฉากจบของหนัง ใครที่สนใจอยากศึกษาเพิ่มเติมก็ติดตามได้ที่.. บทความสร้างคอนเทนต์ให้น่าสนใจด้วยเทคนิคการเล่าแบบภาพยนตร์
กลับเข้ามาที่ Storydoing กันดีกว่า เทคนิคนี้ทำให้เรานึกถึงสำนวนภาษาอังกฤษที่ว่า “Actions speak louder than words” การกระทำสำคัญกว่าคำพูด เหมือนที่นำมาประยุกต์ในการตลาดโดยการที่แบรนด์ออกมาแสดงตัวตนและจุดยืนของตนเอง ผ่านกิจกรรมขององค์กร ที่ได้ความร่วมมือในการวางแผนของคนภายในแล้วลงมือทำ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้ลูกค้าของเราได้เห็นสิ่งที่เราลงมือทำ ไม่ใช่แค่พูดเฉย ๆ
ทำไม Storydoing ถึงเริ่มมาแรง?
ในยุคปัจจุบันผู้บริโภคมักให้ความเชื่อมั่นกับแบรนด์ที่ลงมือทำมากกว่าสิ่งที่แบรนด์โฆษณา เหมือนเช่น เวลาเราจะซื้อของ อย่างเครื่องสำอาง ของใช้ รวมถึงเสื้อผ้าก็ต้องหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาเปิดหารีวิวก่อนเลย หรือโทรศัพท์ไปหาเพื่อน คนรอบข้าง ว่าอันนี้มันดีรึเปล่า ซื้อมาจะคุ้มค่าตรงปกมั้ย เพราะเคยซื้อมาในรูปโฆษณาสวยเช้งไม่มีสะดุด แต่ตัดภาพมาที่สินค้าที่ได้เหมือนหนังคนละม้วนเลยก็ว่าได้..
รวมถึงบทความที่ศึกษาวิจัยเปรียบเทียบมุมมองของผู้บริโภคต่อการทำการตลาดทั้งสองแบบ ของ Havard Business Review ในหัวข้อว่า “Good Companies are storytellers. Great Companies are storydoes” พบว่า
แนวโน้มผู้บริโภคในสื่อโซเชียลมีเดียนั้นมีการพูดถึงการเล่าเรื่องแบบ Storydoing มากกว่า Storytelling และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น และผู้คนพูดถึงแบรนด์มากขึ้นและพูดแง่เชิงบวกมากถึง 70% ในสื่อโซเชียลออนไลน์ และทำให้บริษัทที่ใช้การตลาดในรูปแบบนี้มีรายได้เติบโตขึ้นถึง 10.4%
โดยแอดมินจะหยิบตัวอย่างแบรนด์ที่ใช้การเล่าเรื่องแบบ Storydoing และเป็นประเด็นในโลกโซเชียลกัน ซึ่งมีดังนี้
- การเปิดตัวแคมเปญ “Just do it” ของแบรนด์ Nike
กลายเป็นประเด็นร้อนเมื่อ Nike เปิดตัวแคมเปญ “Just do it” โดยการใช้อดีตควอเตอร์แบ็คดาวรุ่ง ที่เคยเข้าร่วมประท้วงไม่เห็นด้วยกับอเมริกาที่ตัดสินไม่ยุติธรรมกับคนผิวสี และการคุกเข่าขณะเคารพเพลงชาติสหรัฐ (ตามปกติต้องยืนเคารพ) ทำให้เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก และถูก NFL โดนแบนในที่สุด มาเป็นพรีเซนเตอร์ พร้อมประโยคกิมมิกของโฆษณาว่า “Believe in something. Even if it means sacrificing everything” ทำให้ประโยคดังกล่าวไม่ได้ฟังดูแค่เท่ ๆ คูล ๆ อีกต่อไปเพราะนั่นเป็นสิ่งที่ Kapernick เขาเชื่อและยอมทิ้งทุกสิ่งในชีวิต
จากแคมเปญนี้ทำให้ Nike แสดงจุดยืนให้เห็นว่า ตนเองไม่ได้เป็นเพียงแบรนด์รองเท้าสปอร์ตอีกต่อไป และทาง Ian Schafer CEO ของเอเจนซีที่ทำโฆษณากับ Nike กล่าวว่า “Nike ไม่ได้รู้สึกกังวลกับกระแสต่อต้านหรือบอยคอตแต่อย่างใด เพราะ Nike เป็นสัญลักษณ์ในการสนับสนุนสิทธิมนุษยชนไม่ใช่แค่แบรนด์รองเท้ากีฬาอีกต่อไป”
อีกโฆษณาที่คนไทยได้รับกระแสอย่างมากในโลกโซเชียลที่บอกเล่าโดยใช้การเล่าเรื่องรูปแบบนี้มาใช้ ตั้งแต่ Process การทำงาน, อุปสรรคที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด การจัดการวางแผนงานแบบที่ไม่เคยทำมาก่อน อย่างข้อจำกัดเวลา และถ่ายทำได้เพียงแค่ 5 คน จากแต่ก่อน 20 คน! แต่ทางพี่ ๆ ทีมงานก็สามารถผลิตโฆษณาออกมาทันเวลาและเสร็จสมบูรณ์ได้ เราขอบอกเลยว่าโฆษณานี้เป็นมากกว่าโฆษณาจริง ๆ ทำให้ได้รู้ว่ากว่าจะมาเป็นโฆษณาตัวนึงให้เราดูกันนั้นไม่ได้ง่ายอย่างที่คิดเลย
- แคมเปญ Poster Ads ของ Pocari Sweat
ในรูปภาพโปสเตอร์ภาพถ่ายก็ใช้การเล่าเรื่องแบบนี้ด้วยเหมือนกันนะ อย่างแบรนด์ดังสัญชาติญี่ปุ่น Pocari Sweat ที่แอบซุ่มทำ Poster Ads โดยวางคอนเซ็ปไว้ว่า “เหงื่อทุกหยดที่เห็นในภาพ จะถูกแทนที่ด้วยน้ำ Pocari Sweat ที่อยู่บนมือ” ซึ่งทางตัวศิลปินนั้นต้องศึกษาเรื่องการไหลของเหงื่อกัน รวมถึงต้องมาวาดเหงื่อที่ละเม็ดบนรูปกันเลยทีเดียว!
สรุปการตลาดทั้งสองแบบ แบบไหนเวิร์กกว่ากัน?
จาก Case Study ที่เราเล่าไปจะเห็นได้ว่าผู้บริโภคให้ความสนใจและได้รับผลตอบรับที่ดีกว่า ทำให้แบรนด์ต่าง ๆ หันมาการทำการตลาดแบบ Storydoing มากขึ้น แต่วิธีนี้อาจต้องทำงานและเวลาที่มากกว่าการทำการตลาดแบบ Storytelling ส่วน Storytelling นั้นก็ยังมีประโยชน์แล้วแต่กรณี เช่น โฆษณาของเงินติดล้อที่บอกเล่าเรื่องราวอิงในเหตุการณ์จริงที่คนไทยอาจประสบปัญหากัน เช่น เรื่องการติดหนี้และต้องไปกู้เงินนอกระบบ หรือโฆษณาประกันซึ้ง ๆ ของไทยที่นำเหตุการณ์จริงมาเล่าแล้วสร้างความประทับใจแล้วดังไปทั่วโลก เช่น Slience of love ของไทยประกันชีวิต, การให้ คือการสื่อสารที่ดีที่สุด ของทรูมูฟเอช ฯลฯ
จึงสรุปได้ว่าการเล่าเรื่องทั้ง 2 รูปแบบนั้นมีดีทั้งคู่ ซึ่งขึ้นอยู่กับกลยุทธ์คนใช้ว่าเราจะวางแนวทางหรือเลือกวิธีการเล่าเรื่องแบบไหนให้เข้ากับสิ่งที่เราต้องการสื่อไปก็เท่านั้นเอง
ถ้าอยากติดตามบทความดีๆ สามารถไปอ่านต่อได้ที่ link
Contact US
Line Official : https://lin.ee/Qtmh0wh
Instagram : https://bit.ly/3gQHTdm
Website: https://masterplanmedia.co.th/blog/
E – mail : masterplanmedia.th@gmail.com
Tel : 090 – 950 – 5544
ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก
contentshifu. marketingoops!. me-mindset. makewebeasy. Pocari Sweat Thailand