Feature stories

NFT ( Non-Fungible Token ): รู้จักกับ NFT ทรัพย์สินน้องใหม่ในโลกดิจิตอล

Share on facebook
Share on twitter
Share on email

หัวข้อที่น่าสนใจ

รู้จักกับ NFT สินทรัพย์น้องใหม่ในโลกดิจิทัล

ถ้าเราพูดถึงสินทรัพย์ดิจิทัล นักลงทุน และนักธุรกิจหลาย ๆ ท่านต่างนึกถึง Cryptocurrency ที่เป็นสินทรัพย์ดิจิทัลรูปแบบหนึ่งที่มีกระแสมาอย่างยาวนาน ไม่ว่าจะเป็น Bitcoin (BTC), Binance Coin (BNB), Tether (USDT), Ripple (XRP) หรือจะเป็นเหรียญหมา อย่าง Dogecoin ที่มีกระแสในคราวหลัง จากการเป็นเหรียญลูกรักของ Elon Musk!

ในบทความนี้ แอดมินเลยจะมาแนะนำสินทรัพย์ดิจิทัลรูปแบบใหม่ที่พึ่งเข้ามาวงการการลงทุนดิจิทัล อย่างน้องใหม่ที่ชื่อ “NFT หรือ Non-Fungible Token” นั้นคืออะไร แตกต่างจาก Cryptocurrency อย่างไร? แล้วมีความน่าสนใจขนาดไหน? เป็นที่นิยมในวงการอะไรบ้าง วันนี้แอดมินเลยรวบรวมข้อมูลทั้งหมดไว้ในบทความนี้แล้ว เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เรามาศึกษาไปพร้อมกันดีกว่า

ก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจกับคำว่า Fungible และ Non-Fungible กันก่อน

Fungible นั้นหมายถึงสิ่งที่เราใช้ทดแทนกันได้ ใช้ได้ทั้งรูปแบบที่เราจับต้องได้อย่างเงิน เหรียญ ทอง และรูปแบบที่จับต้องไม่ได้อย่าง Cryptocurrencyเรามายกตัวอย่างให้เห็นภาพกันดีกว่า เช่น มีเพื่อนมายืมเงินเรา 100 บาท เมื่อเพื่อนนำเงินมาคืนเราก็ได้เงินที่มูลค่าเท่ากับ 100 บาทดังเดิม

ต่างจาก Non – Fungible ที่เป็นสิ่งที่ทดแทนกันไม่ได้ มีเพียงชิ้นเดียวในโลก เช่น โน้ตบุ๊กที่คุณใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ถึงแม้จะเป็นรุ่นเดียวกันที่มีมากมายตามท้องตลาด แต่ไฟล์ที่จัดเก็บในเครื่อง ลักษณะการใช้ที่ผ่าน ๆ มาของโน้ตบุ๊กคุณนั้นก็มีความแตกต่าง และความยูนีคในแบบฉบับของตนเอง

แล้ว Non – Fungible Token หรือ NFT แตกต่างจาก Cryptocurrency อย่างไร ?

NFT หรือ Non-Fungible Token ถือเป็นสินทรัพย์ใหม่ในโลกดิจิทัลเช่นเดียวกับ Cryptocurrency ที่รันอยู่ในบล็อกเชน แต่แตกต่างกันตรงที่ NFT นั้นเป็นโทเคนที่มีลักษณะเฉพาะตัวทดแทนไม่ได้ มีชิ้นเดียวในโลก ส่วน Cryptocurrency นั้นสามารถแลกเปลี่ยนเหรียญข้ามไปข้ามมาระหว่างสกุลเงินดิจิทัลอื่น รวมถึงแลกเปลี่ยนเป็นเงินจริงได้ เช่น เราใช้บิตคอยน์ (BTC) ไปซื้อรถเทสล่าจำนวน 2 เหรียญ Elon Musk ก็สามารถนำเงิน 2 BTC ไปแลกเป็นเงินที่สถาบันการเงินได้นั่นเอง

หลายคนคงสงสัยว่า ทำไม NFT ถึงได้รับความนิยมล่ะ ทั้ง ๆ ที่ไม่สามารถนำไปแลกเปลี่ยนได้ แล้วมันทำเงินให้กับเราได้จริงหรือ? อาจเป็นประเด็นที่ใครหลาย ๆ คนกำลังสงสัยกันอยู่

นั่นเป็นเพราะ NFT เป็นสินทรัพย์ที่ไม่สามารถทดแทนกันได้ ดังนั้นจึงเป็นที่นิยมอย่างมากในวงการศิลปะ เกม สื่อเพลงต่าง ๆ เนื่องจากเกี่ยวข้องกับลิขสิทธิ์ รวมถึงการใช้ผลงาน และการถือครองของผู้ที่ซื้อ

ทำไม NFT ถึงได้รับความนิยมในวงการศิลปะ?

ปัจจุบันเรื่องลิขสิทธิ์ กรรมสิทธิ์และการถือครองก็ยังคงเป็นประเด็นในการถกเถียงกันมากในวงการศิลปะ ไม่ว่าจะเป็น รูปวาด รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว รวมถึงบทเพลง ฯลฯ 

นั้นทำให้ NFT เริ่มเข้ามามีบทบาท เนื่องจากผู้ที่เป็นศิลปิน หรือผู้ผลิตผลงานนั้นสามารถขายผลงาน โดยการเปลี่ยนผลงานให้อยู่ในรูปเหรียญ NFT หรือเรียกศัพท์ทางเทคนิคว่า “Mint” เพื่อให้ผลงานดังกล่าวมีอยู่เพียงชิ้นเดียวในโลก (หรือถูกจำกัดจำนวน) และไม่สามารถทำซ้ำได้รูปแบบดิจิทัลในระบบบล็อกเชน ซึ่งผู้ซื้อโทเคน NFT นั้นสามารถถือครองสิทธิ์เป็นเจ้าของในผลงานชิ้นได้ และสามารถเก็บสะสม หรือขายส่งต่อผลงานให้ผู้อื่นได้ โดยประวัติการเปลี่ยนมือผู้ถือครองนั้นจะถูกบันทึกในบล็อกเชน ทำให้ยากต่อการโกง ขโมยแอบอ้างผลงานว่าเป็นของตน

โดยเราจะมาขอยกตัวอย่างผลงาน NFT ที่ขายได้มูลค่าสูงกัน

ผลงาน Everydays: The First 5000 days โดย Beeple ที่มูลสูงสุดตั้งแต่มีการเปิดประมูลมา โดยมีมูลค่ากว่า 69.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือตีเป็นเงินไทยสูงถึง 2,100 ล้านบาท

bySbkh5JkarX XwbiIFwJTspByR6MDPTRzg2uyUxQmRHj7P 6aTyjQ OsG3EIQUcdP Eu9hwKwa j Kh65OXc4jGlZ9CyBzMh5gUgzvXCmti0aCcHdIkQ6DdkCyJhw=s0

หรืออย่างโพสต์แรกของผู้ก่อตั้ง Twitter อย่าง Jack Dorsey ก็มีมูลค่ากว่า 2.9 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยเท่ากับ 95 ล้านบาท

uZg92CdnU9mHjfoObwOd thnStP9r4Yk5

รวมถึงมีมที่คุ้นหูคุ้นตาอย่าง ‘Disaster Girl’ โดย Zoë Roth ที่มีมูลค่าประมาณ 500,000 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 15.4 ล้านบาท

cz8z F1ljGqoqPcRpqV0D5qGodDO6HdwoJQpp2cFS7LQv8PpWtxeYaczlDWtKO1OKTkVDp CH8A5qVFZrv G8c9L1ccPGTS3EpANSglPWqninb8n91UP9vBsplkTA=s0

ส่วนทางฝั่งคนไทยนั้นมีรูปปกขายหัวเราะฉบับแรกที่มีลายเซ็นของ บก. วิธิต อุตสาหจิตที่มีมูลค่าสูงสุดของไทยในตลาด NFT คือ 1.07 ล้านบาท และยังมีศิลปินคนอื่นอย่าง ยังโอม, ติ๊ก ชีโร่ ฯลฯ ที่เข้าร่วมในตลาดศิลปะดิจิทัลแห่งนี้เช่นกัน

fytAFEtd8W1twMd o0lpUj2EP3E1j6F89uHaoawq5ApWO1qkKN0i7UNGdBUc2BfMJA5FNSL6l1u04 bll48x4DGRVEe2edp0loU3L1WFsX 6Z1tmX2BU STGYpXy w=s0

หลายคนคงเริ่มสนใจ NFT หรืออีกชื่อ NFT Crypto Art แล้วอยากจะเข้าวงการนี้ แต่คงมีคำถามว่าจะเริ่มต้นและ ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง? แอดมินเลยรวมสิ่งที่เราต้องเตรียมตัวก่อนจะสร้าง NFT มาได้ 3 หัวข้อหลัก ๆ ดังนี้

  1. ออกแบบงานที่จะลงใน NFT

เมื่อเราจะออกแบบงานลงใน NFT เชื่อว่าหลายคนต่างนึกถึงเพียงผลงานภาพวาดศิลปะ หรือ Digital Arts เป็นส่วนใหญ่ แต่แท้จริงแล้ว NFT สามารถออกแบบได้หลากหลายขึ้นอยู่กับเจ้าของผลงาน โดยจะแบ่งได้เป็น 5 หมวด ได้แก่

  • วงการศิลปะ: ใครที่มีความสามารถทางด้านการวาดรูป ออกแบบ และการสร้างสรรค์ผลงาน ผลงานที่เรานำมาลงไม่จำกัดเพียงรูปภาพ แต่มีภาพถ่าย, วิดีโอ, รูปแอนิเมชั่น​, ไฟล์ gif, งานเสียงพากย์, บทเพลง รวมถึงงาน 3D อีกด้วย
  • วงการเกม:  เกมที่เราเล่นกันนั้นจะมีไอเทม สิ่งของต่าง ๆ ซึ่งไอเทมบางชิ้นก็มีระดับความหายากที่แตกต่างกันออกไป ทำให้มีกลุ่มผู้เล่นบางกลุ่มที่มีความชอบในการสะสมของแรร์ โดยเฉพาะเกมการ์ด ที่ปัจจุบันมีเกมการ์ดที่ได้ใช้  NFT มาประกอบกับตัวเกม อย่าง “Cryptokitties” ที่เป็นเกมสะสมการ์ดบน Ethereum Blockchain หรือ Axie infinity ที่เป็นเกมแนวเลี้ยงสัตว์เลี้ยง มีระบบการผสมพันธุ์เพื่อสร้างความยูนีคในสัตว์เลี้ยงของเราได้ โดยเราสามารถนำสัตว์เลี้ยง ไอเทม รวมถึงพื้นที่ต่าง ๆ มาซื้อขายได้ในรูปแบบ Ethereum สามารถเล่นได้ทุกแพลตฟอร์ต ไม่ว่าจะเป็น window, mac, android และ ios หรือเกมอื่น ๆ เช่น Townstar, Lost Relics และ ​Sorare เป็นต้น
  • วงการกีฬา: ในการแข่งขันกีฬาแต่ละรอบนั้นจะมีช่วง Highlight หรือเป็น ‘ช็อตเด็ด’ ที่เป็นการช่วงเวลาสำคัญในการแข่งขันนั้น ๆ มาในรูปแบบ NFT อย่างช็อตที่เลอบรอน เจมส์ ทำสแลมดังก์ ฯลฯ
  • วงการสื่อโซเชียลมีเดีย: แอดมินขอยกตัวอย่างที่พูดถึงกันมาก คือ ทวิตเตอร์โพสต์แรกของคุณ Jack Dorsey ผู้ก่อตั้ง Twitter ที่โพสต์ว่า ‘Just setting up my twttr’ นับว่าเป็นนาทีประวัติศาสตร์ของโซเชียลมีเดียเลยก็ว่าได้
  • วงการพระเครื่อง: ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ! เมื่อวงการพระเครื่องไม่ได้ถูกจำกัดแต่เพียงให้เราเช่าพระในรูปแบบเดิมอีกต่อไป เมื่อแบรนด์อย่าง ‘Crypto Amulets’ ที่เปิดตัวพระเครื่องแบบ 3D ดิจิทัลครั้งแรกของโลก ถึงแม้พระเครื่องจะอยู่ในรูปแบบดิจิทัล แต่ก็มีการปลูกเสกไม่ต่างจากพระเครื่องธรรมดาเลย โดยจะมีการสุ่มยันต์ให้ผู้ซื้อด้วยนะ มีความเอ็กซ์คลูซีพขึ้นไปอีกระดับ
  1. เลือก NFT Marketplace , ศึกษา Blockchain ที่สร้าง NFT 

NFT Marketplace เปรียบเสมือนตลาดที่มีผู้ซื้อ ผู้ขายและผู้สร้างมาแลกเปลี่ยน NFT ของกันและกัน โดยมีด้วยกันหลายแพลตฟอร์มไม่ว่าจะเป็น Opensea, Rarible, Foundation และ SuperRare เป็นต้น

 ส่วน Blockchain ที่สร้าง NFT ที่ได้รับความนิยมและใช้แพร่หลายมากที่สุดคือระบบ Ethereum blockchain แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคุณจะต้องมีกระเป๋าเงินที่สนับสนุน Ethereum ด้วย หากคุณใช้ในระบบบล็อกเชนรูปแบบนี้ แอดมินขอยกตัวอย่างกระเป๋ามีได้ ดังนี้ Trust Wallet หรือ Coinbase Wallet, Metamask เป็นต้น

  1. ศึกษาวิธีการซื้อขาย NFT ในแพลตฟอร์มนั้น ๆ 
  • การซื้องานรูปแบบ NFT: วิธีการซื้อขายนั้นขึ้นอยู่กับเจ้าของผลงานจะตั้งขาย NFT ในรูปแบบใด โดยจะแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ แบบราคาตายตัว และแบบประมูล ซึ่งในบางกรณีอาจมีการยื่นข้อเสนอกับผู้ขายเพื่อต่อราคาได้เช่นกัน
  • การขายงานรูปแบบ NFT: การลงขายผลงาน NFT นั้นจะต้องมีการแปลงผลงานเป็นในรูปแบบ NFT เสียก่อนหรือที่เรียกว่าการ ‘Mint’ โดยการ mint จะทำให้ผลงานของเราเชื่อมในบล็อกเชนนั้น ๆ 

จะเห็นได้ว่า NFT ถือเป็นมิติใหม่ในตลาดทรัพย์สินดิจิทัล และเป็นอีกช่องทางในการสร้างรายได้ให้กับใครหลาย ๆ คนเลยก็ว่าได้ ที่ไม่จำกัดเพียงแค่รูปภาพ หรือภาพถ่ายเท่านั้น แต่รวมไปถึง คลิปไวรัล, NBA Top Shot ลีคแข่งบาสระดับโลก, วงการเกม และวงการพระเครื่องอีกด้วย

Contact US

Line Official : https://lin.ee/Qtmh0wh

Instagram :

E – mail : masterplanmedia.th@gmail.com

Tel : 090 – 950 – 5544