Feature stories

Brand CI หัวใจการออกแบบ ไม่ใช่แค่ปังแต่จำไม่ลืม

Share on facebook
Share on twitter
Share on email

หัวข้อที่น่าสนใจ

Brand CI นั้นมีให้เห็นอยู่รอบตัวทุกที่ อย่างถ้าเราพูดถึงไทยพาณิชย์ ก็ต้องนึกถึงสีม่วง หรือ ‘น้องกอน’ ที่เป็นมังกรสีเขียวตัวน้อยประจำแบรนด์ Bar B Q Plaza ถ้าโลโก้จระเข้ที่เด่นเป็นสง่า ก็ต้องพูดถึงแบรนด์ lacoste

ซึ่งจะเห็นได้ว่าสิ่งเหล่านี้สร้างเอกลักษณ์และการจดจำของแบรนด์ในลูกค้าได้ แบบถ้าเราพูดถึงสิ่งนี้ก็ต้องร้อง อ๋อ ไปตาม ๆ กัน

แล้วทำไมเราถึงจำสัญลักษณ์เหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น โลโก้, สี รวมไปถึงคาแรกเตอร์ประจำแบรนด์ได้ล่ะ​? ที่เราจดจำกันได้นั้นมาจาก “Brand CI” นี่แหละ ที่มาช่วยให้เราโดดเด่นจากคู่แข่ง ท่ามกลางการแข่งขันทางธุรกิจในยุคปัจจุบัน 

ในบทความนี้เราเลยจะมาบอกว่า Brand CI คืออะไร มีหลักการอะไรบ้าง ความสำคัญ รวมไปถึงเคล็ดลับการสร้างที่ทุกคนต้องรู้ ถ้าใครอยากรู้เพิ่มเติมแล้วก็ไปอ่านต่อได้เลย!

Brand CI หมายถึงอะไร?

CI นั่นย่อมาจากคำว่า Corporate Identity หรือแปลไทยว่า อัตลักษณ์ของแบรนด์ ซึ่งแสดงถึงคุณลักษณะเฉพาะ รูปแบบ ความคิดและภาพลักษณ์ของแบรนด์นั้น ๆ ถ้าเปรียบเทียบกับคนเรา ก็เหมือนหน้าตา รูปร่าง เพศ นิสัยใจคอ รวมไปถึงรสนิยมความชอบของคน ๆ นั้น ที่ทำให้จำได้ว่าคนนี้คือใคร โดย Brand CI นั้นมีองค์ประกอบการออกแบบอยู่ 2 ข้อหลัก มีดังนี้ 

  • Brand Concept: เรื่องราว แนวคิด รวมไปถึงจุดเด่นของแบรนด์ที่องค์กรต้องการสื่อ
  • Brand Design: การออกแบบแบรนด์ เช่น สี รูปลักษณ์ Mood&tone 

ซึ่งทั้งสองอย่างนี้เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำช่วยสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์ทำให้ลูกค้าจดจำเราได้นั่นเอง โดยการออกแบบแบรนด์นั้นไม่ใช่ว่ามีเพียงความสวยงาม  เช่นอันนี้ดูสวยเราเลยทำตามคนโน่นคนนี้ หรือแค่การวางคอนเซปต์ไปตามเทรนด์ แบบที่ว่าคนนี้ดังเราก็เอาบ้าง เกาะกระเเสตามเค้าไปบอกเลยว่า แรกๆอาจเกิดผลลัพธ์ดี แต่ก็อาจเกิดผลเสียตามมาทีหลังได้ 

การสร้าง CI ที่ดีนั้น สิ่งสำคัญที่สุดคือ ‘การสร้างเอกลักษณ์’ หรือจุดเด่นของแบรนด์เราขึ้นมา เพื่อให้ลูกค้าจดจำแบรนด์เราได้ แบบที่ว่าถ้าพูดถึงสิ่งนี้ก็ต้องนึกถึงแบรนด์ของเรานั่นเอง

Brand CI มีองค์ประกอบอะไรบ้าง?

จริง ๆ แล้วการออกแบบ CI นั้นไม่ได้จำกัดเพียงการออกแบบแนวงานอาร์ตของสายกราฟิก หรือ editor เท่านั้น แต่รวมไปถึงการ ‘ภาษาเขียน’ ที่เป็นงานของนักเขียนคอนเทนต์ที่ช่วยสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์ เรายกตัวอย่างให้เห็นภาพ อย่างเพจ Jones salad ที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นวัยรุ่น วัยทำงาน กราฟิกและภาษาที่ใช้มีความเข้าใจง่าย แทรกมุกตลก มีเสียดสีการเมืองเล็กๆ หรือเพจที่ให้ความรู้อย่าง ลงทุนแมน ที่ใช้กราฟิกและภาษาทางการเพื่อให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมายที่เข้ามาเสพข่าวนั้น ๆ

เราเลยจะขอการจัดองค์ประกอบของอัตลักษณ์แบรนด์ที่สายกราฟิกและคอนเทนต์ หรือคนที่กำลังจะสร้างแบรนด์ต้องรู้มาให้ดูกัน

  1. โลโก้แบรนด์ (Logo Brand)

Jjr7VV24SHcsOosrzHOmEm YlAy2zv7skmrb5vQELepYvtN3rzksRWWZCP853Fm8fW eyiVJ1dGWG9YXPr2cJWYIhV9sQ64uXBc0cqCJk7TQOehrNIVlFgPgOyl11Q=s0
ตีตราสัญลักษณ์ด้วย โลโก้แบรนด์ (Logo brand)

สิ่งแรกที่ขาดไปไม่ได้กับ ‘โลโก้แบรนด์’ ที่เป็นการสร้างเอกลักษณ์ และบ่งบอกว่า สินค้าบริการนี้เป็นของแบรนด์เรา ซึ่งโลโก้แบรนด์นั้นมีการออกแบบที่หลากหลายเพื่อสะท้อนให้เห็นภาพลักษณ์ของธุรกิจนั้น ๆ เช่น ตัวอักษร สี รูปภาพ สัญลักษณ์ เป็นต้น

  1. สี (Color)

PfBrh3jDvxhkRg9 2LYXTRJTuVaquNVGydwAG EMPBE9H0MiBr1liChM47U0uVMI4bLEKXIdTSwXNTXMH685wdN9uDD Lswj0ER6KrdXI1vjJnrcH5anTQhRfyFJSA=s0
สร้างภาพจำด้วยสี (Color)

สีนั้นเป็นองค์ประกอบที่ช่วยสร้างการจดจำ และอารมณ์ของแบรนด์นั้น ๆ โดยสีแต่ละสีนั้นมีความหมายและการให้อารมณ์ที่แตกต่างกันตามหลักของจิตวิทยาด้วยนะ เช่น

  • สีน้ำเงิน – ฟ้า : สื่อถึงความมั่นคง มีระเบียบ ความสงบและผ่อนคลาย
  • สีเขียว : สื่อถึงธรรมชาติ ความสบายปลอดภัย สดใส
  • สีแดง: สื่อถึงความกระตือรือร้น ความสนใจ หลงใหล และพลัง
  • สีดำ: สื่อถึงความเรียบหรู อำนาจ รอบรู้ ลึกลับและความเป็นทางการ
  • สีขาว: สื่อถึงความบริสุทธิ์ สันติ ความเรียบง่ายและความสงบ

  1. ฟอนต์ (Font / Typography)

ฟอนต์ (Font) บอกตัวตนให้รู้จัก

อาจดูเป็นสิ่งเล็กๆ แต่ฟอนต์นั้นสำคัญมากนะ! ซึ่งฟอนต์แต่ละแบบก็มีรูปลักษณ์และให้อารมณ์แตกต่างกัน เช่น ฟอนต์แนวน่ารักจะเน้นความโค้งเว้า หรือแนวเรียบหรูที่จะเน้นความเป็นเหลี่ยมที่มากกว่า

  1. เทมเพลท (Template)

SoPDoIOLO7lyrTAII69VFK RhUN8qSgPKhV0y67bu6oqMr MFcrP8x8atdTl8oCQK3Ed6d9F cKxzBHBK mHRPSdP mzauN1u0zScO9BnzvKepTV dn3Yz8Y1AFe w=s0
เทมเพลต (Template) สร้างบุคลิก

เทมเพลทคงเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ทุกคนลืมกัน แต่เทมเพลทนั้นช่วยสร้างความกลมกลืนและช่วยสร้างการจำจดและเป็นส่วนหนึ่งของกราฟิกประจำแบรนด์มากขึ้น เช่น สัญลักษณ์, รูปร่าง เส้นต่างๆ

  1. Mood&Tone

dD9rJTs9lsH0tip9iEcf0vSt5uRYLoI5gwta1 xLudujdY0lMchCqFt2AkQ4bDE v3ef4G20cR T2GDiQhh8pdW636VUo8EObkMWf7xA4u261oPBYq ErNFUHeWX4A=s0
Mood & Tone สร้างอารมณ์ให้เข้าใจ

Mood&Tone เป็นการสร้างภาพลักษณ์คอนเซปต์ และจุดเด่นโดยรวมของแบรนด์ว่า ลูกค้าจะรู้สึกกับแบรนด์เราอย่างไร เช่น ถ้าเราเป็นแบรนด์ออกกำลังกายก็จัดรูปภาพให้อยู่ mood & tone ที่สื่อถึงพลังและการเคลื่อนไหว เราอาจจะต้องใช้สีสดใสอย่างแดงชมพู ส้ม เป็นต้น

  1. คาแรกเตอร์ หรือมาสคอต (Brand Character)

OYOOF2OzMLop6eF043Z h hJIIPPzUuMLI8nvKVw71dhceWlsQnR0zXKl4e4XHDM wrZRpJJ HFt5rzcm r6fzsqNWmFCJ jDTRit4SVHk9T6Xc8GDaeYZf9yqS3ug=s0
เพิ่มสีสันแบรนด์ด้วยคาแรกเตอร์ หรือมาสคอต (Brand Character)

อันนี้ไม่จำเป็นต้องมีก็ได้ แต่บางแบรนด์ก็มีการสร้างมาสคอตประจำแบรนด์ที่ช่วยสร้างสีสัน และตัวแทนสื่อกลางระหว่างแบรนด์กับลูกค้า เช่นแบรนด์ AIS, Bar B Q Plaza ที่มีน้องกอน หรือมาสคอตของเพจ Jones Salad ซึ่งการใช้มาสคอตประจำแบรนด์นั้นนิยมกันมากในประเทศญี่ปุ่น เช่น แบรนด์ริลาคุมะ หรือคุมะมงที่ทุกคนคงเคยเห็นผ่านตากันดี

  1. ภาษาเขียน

ZFq
ภาษาเขียน สร้างความเข้าถึง

เวลาเราโพสต์รวมถึงการทำรูปกราฟิก ย่อมต้องมีแคปชั่นสั้น ๆ หรือยาวร่วมด้วย ซึ่งแต่ละแบรนด์นั้นก็มีกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกันไปอีก การเลือกใช้ภาษาและสำนวนการเขียนจึงต้องแตกต่างกัน กล่าวคือ ถ้าแบรนด์เราเจาะลูกค้าวัยรุ่น หรือเด็กก็อาจจะเน้นภาษาเข้าใจง่าย เป็นกันเอง ส่วนแบรนด์ที่เป็นแนวให้ข่าว ข้อมูลก็จะเป็นการเขียนสำนวนทางการไปหน่อย เพื่อให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย ถ้าเป็นโพสต์แนวให้ข้อมูลข่าวทางการ แต่เขียนสำนวนแบบวัยรุ่น ติสๆ ไปเลยก็ดูจะไม่เหมาะเท่าไหร่

ทำไม Brand CI ถึงสำคัญ?

  • กำหนดทิศทางในการสื่อสารขององค์กรต่อลูกค้า

การสร้าง CI นั้นถือเป็นการสื่อสารทั้งภายในองค์กร เพื่อให้คนในองค์กรเข้าใจตรงกันว่าต้องการจะสื่อสารกับลูกค้าอย่างไร ยิ่งถ้าองค์กรเรามีคนอยู่จำนวนมาก การจะสร้างระบบแบบแผนให้มีระเบียบตามกันก็ยิ่งมีความสำคัญ ดังนั้นจึงมีการ

  • สร้างการจดจำให้ลูกค้า

ลองมองในมุมกลับถ้าสมมุติเราเป็นลูกค้า บางทีจะซื้อโซดา ก็จะนึกถึงสองแบรนด์ดังใหญ่ๆ อย่างทุกหยดซ่าโซดาสิงห์ หรือแบรนด์ช้าง พอเราลองยกทุกคนคงเห็นภาพขึ้น เพราะในปัจจุบันสินค้าแต่ละอย่างมีคู่แข่งมากมายในตลาด ดังนั้นเราต้องสร้างเอกลักษณ์ หรือความเป็นยูนีคให้กับแบรนด์เรา เพื่อให้ลูกค้าสนใจ และสร้างการจดจำแบรนด์นั่นเอง

  • ลดความสับสน

CI นั้นจะทำให้ภาพลักษณ์โดยรวมของแบรนด์ไปในทางเดียวกัน ซึ่งการทำธุรกิจบางองค์กรอาจมีหลายช่องทางในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้า เราลองสังเกตได้เลยว่าแบรนด์ใหญ่ ๆ นั้นยึดหลักความเป็นอัตลักษณ์ของแบรนด์สูงมาก เช่นใช้โทนสี ฟอนต์ โลโก้ การออกแบบไปในทางเดียวกัน แบบที่ว่าลูกค้าต้องร้องอ๋อถ้าเจองานเรารวมกับคู่แข่งคนอื่น เนื่องจากการที่ลูกค้าจำจดเราได้ จะมีโอกาสให้ลูกค้าเกิดการซื้อสินค้าบริการซ้ำจากเราได้ 

จะเห็นแล้วใช่ไหมว่า การกำหนดอัตลักษณ์ของแบรนด์นั่นไม่ได้ยากอย่างที่คิด และถือเป็นกลยุทธ์เพื่อให้เรามีตัวตนที่โดดเด่นของแบรนด์ และทำให้เราได้เปรียบกว่าคู่แข่งที่มากมาย ในตลาด ซึ่งการทำ CI ก็เหมือนกับการหาตัวเองนั่นแหละ ใครที่ยังไม่ได้วางแผนก็ต้องรีบวางแผนแล้วนะ

ถ้าอยากติดตามบทความดีๆ สามารถไปอ่านต่อได้ที่ link

Contact US

Line Official : https://lin.ee/Qtmh0wh

Instagram :

E – mail : masterplanmedia.th@gmail.com

Tel : 090 – 950 – 5544

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก AT-ZE. Digitory. Primal. StartUp NOW. ZORT