Feature stories

SAOR - SWOT

“SOAR” เวอร์ชั่นที่ดีกว่า SWOT Analysis

Share on facebook
Share on twitter
Share on email

หัวข้อที่น่าสนใจ

ครั้งที่เราจะวางแผนกลยุทธ์ขององค์กรหรือบริษัท ผู้บริหารส่วนใหญ่จะหยิบ SWOT Analysis มาใช้เพื่อวางแผนกลยุทธ์ให้ได้ผลจริง โดยหน้าที่ของ SWOT คือการวิเคราะห์ จุดแข็ง (Strength) จุดอ่อน (Weakness) ภายในองค์กร และการมองหาโอกาสใหม่ ๆ (Opportunity) อุปสรรค์ (threats) ภายนอกองค์กร เมื่อได้ข้อมูลมาแล้ว เราก็จะมาวิเคราะห์กันเพื่อเห็นข้อมูลต่าง ๆ

แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยน กลายเป็นว่า SWOT Analysis ไม่เป็นที่นิยมและเห็นถึงข้อบกพร่องหลายที่ เช่น มันเป็นการวิเคราะห์ในเชิงกว้าง ไม่ได้มีวิธีการแก้ไขหรือหนทางที่จะสามารถบรรลุเป้าหมายได้ อีกทั้งยังเป็นแค่ความเห็นของบุคคลในองค์กรหรือแค่คนกลุ่มๆเดียว ดังนั้นข้อมูลที่สรุปมา อาจจะไม่ใช่ข้อมูลที่ถูกต้องทั้งหมด ข้อมูลที่อ้างอิงมาล้วนแต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นปัจจุบัน ดังนั้นเมื่อเวลาผ่านไป เราอาจจะนำข้อมูลมาใช้ไม่ได้แล้ว

ดังนั้นจึงเกิดหลักการ “SOAR Analysis” หรือในภาษาไทยเรียกว่า “ซออาร์” ซึ่งหลักการการวิเคราะห์องค์กรหรือบริษัทจะมีความคล้ายคลึงกับ SWOT เพียงแต่มีการปรับปรุงให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

จริง ๆ แล้วหลักการของเจ้า SAOR เดิมมีต้นแบบมาจาก SWOT โดยนำวิธีคิดแบบ Appreciative Inquiry (AI) เข้ามาใช้ด้วย โดยวิธีคิดคือ การตั้งคำถามเชิงบวกกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง หรือ ส่วนได้ส่วนเสียทุกคน ให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการวิเคราะห์โดยใช้กลยุทธ์นี้ โดยเราจะใช้ จุดแข็ง(Strengths) โอกาส (Opportunities) แรงบันดาลใจ (Aspiration) และสุดท้ายคือ “ผลดี”ที่คิดว่าจะเกิดขึ้น (Results)

สิ่งที่น่าสนใจของวิธีคิดแบบ AI ก็คือ เราจะหยิบยกเรื่องราวดีๆที่ซ่อนเร้นหรือถูกลืมไปเราจะดึงเรื่องราวดีๆจากเรื่องที่ดูไม่น่าเป็นไปได้ มาสร้างการเปลี่ยนแปลงทำให้เป็นไปได้ขึ้นมา ขอบอกเลยว่าวิธีคิดแบบ AI นั้นถูกค้นพบและถูกใช้งานในองค์กรใหญ่ ๆ จริงตั้งแต่สมัยทศวรรษที่ 80 สร้างแนวคิดใหม่ ๆ และการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นมาแล้วในหลายๆวงการ เช่น ด้านการแพทย์, ด้านการพัฒนาองค์กร, ด้านการบริหาร

โดยวิธีการที่เรานำ SOAR ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์จริงนั้นจะเป็นการตั้งคำถามในเชิงบวก และจะนำไปสอบทุกคนที่มีส่วนร่วมในองค์กรเมื่อได้คำตอบมาแล้วเราจะจำแนกตามตัวชี้วัด 4 ตัว

  1. จุดแข็ง คือเรื่องราวดี ๆ หรือเรื่องราวที่ประทับใจที่เกิดขึ้นในองค์กรจะเกิดขึ้นที่ไหนเมื่อไหร่ก็ย่อมได้ และอาจจะอยู่ในรูปแบบของความคิดหรือทัศนคติในส่วนนี้จะเป็นเหมือนการหาข้อดีจากความสำเร็จ
  2. โอกาส คือโอกาสในการส่งเสริมการเรียนรู้เวลาให้ Feedback ร่วมกันระหว่างทีมจะทำให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  3. แรงบันดาลใจ คือ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อพนักงานทำงานดีขึ้น มีขีดความสามารถที่สูงขึ้น มีทัศนคติที่ดี เนื่องจากได้รับ Feedback ที่เป็นพลังบวก จึงทำงานออกมามีคุณภาพ และ KPI ของทุกแผลกจะสูงขึ้นตาม
  4. ผลดีที่คิดว่าจะเกิดขึ้น คือ แน่นอนว่าเราจะต้องวางแผนว่า KPI ของเราและของทั้งแผลกจะมากขึ้นตาม ๆ กันทำให้อัตราการลาออกของพนักงานน้อยลง

สรุปแล้วความแตกต่างระหว่าง SWOT และ SOAR คือ

SWOT จะวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกโดยรวมในวงกว้าง ไม่ได้มีวิธีหรือขั้นตอนที่นำไปสู่การบรรลุเป้าหมายได้ แต่ในทางกลับกัน SOAR จะวิเคราะห์ทั้งจุดแข็งและจุดอ่อน รวมถึงแรงบันดาลใจ และจะมีการกำหนดผลลัพธ์ที่ต้องการในอนาคต ดังนั้น เราจะเห็นได้ชัดว่า SOAR มีขั้นตอนที่ละเอียดกว่า สมเหตุสมผล และสามารถนำไปใช้ได้จริง