“เรื่องอาหารการกิน” เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับคนไทยมานานจนถูกหล่อหลอมเข้ากับชีวิตประจำวันเราในแต่ละวัน เราเคยสังเกตกันบ้างมั้ยว่า คนไทยนอกจากทักทายสวัสดีค่ะ สวัสดีครับ ยังมีการทักว่า “กินข้าว หรือทานอะไรรึยัง?” อีกด้วย รวมถึงประเทศไทยที่มีความหลากหลาย และความอุดมสมบูรณ์ในทุกด้านจนต่างประเทศยกย่องให้ประเทศไทยนั้นถือเป็น “ครัวโลก”ดังนั้นการที่ ‘หมูแพง’ นั้นถือเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่น่าจับตามองไม่แพ้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิดอย่าง ‘โอไมครอน’ อยู่ในขณะนี้
หลายคนคงตั้งข้อสงสัยว่า ทำไมปัญหาการขึ้นราคานี้เราคงได้พบเจอมาหลายครั้ง ตั้งแต่ผักแพงในช่วงน้ำท่วม, ไข่ไก่แพง ค่าน้ำค่าไฟ ฯลฯ แต่ทำไมของเหล่านี้ขึ้นราคาถึงไม่กระทบเท่าราคาหมูขึ้นล่ะ?
ที่จริงแล้วประเทศไทยเรานั้นเคยได้เพราะงั้นการเกิดปัญหาสิ่งของขึ้นราคา โดยเฉพาะวัตถุดิบขึ้นราคานั้นจึงสร้างความเดือดร้อน โดยการทำอาหารนั้นก็มีวัตถุดิบมากมาย ไม่ว่าจะเป็น กุ้งหอยปูปลา ไก่ รวมไปถึง “หมู” ที่กำลังมีปัญหาร้อนแรงพอ ๆ กับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิดอย่าง ‘โอไมครอน’ อยู่ในขณะนี้ ซึ่งเรื่องปัญหาการขึ้นราคานี้เราคงได้พบเจอมาหลายครั้ง ตั้งแต่ผักแพงในช่วงน้ำท่วม, ไข่ไก่แพง ค่าน้ำค่าไฟ ฯลฯ แต่ทำไมของเหล่านี้ขึ้นราคาถึงไม่กระทบเท่าราคาหมูแพงล่ะ? เพราะงั้นเราคงต้องเริ่มมาพูดถึงเรื่อง การบริโภคเนื้อสัตว์ของคนในโลกกันก่อน
พูดถึงเนื้อสัตว์ ทำไมคนถึงนึกถึงเนื้อหมูเป็นอันดับแรก?
ถึงแม้เนื้อสัตว์ที่คนเรานำมาใช้บริโภคนั้นจะมีหลากหลายมากมายจนนับไม่ถ้วนเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัตว์แปลก ๆ ที่เราต้องสงสัยว่าเขากินกันด้วยจริงหรอ? แต่เนื้อสัตว์ที่เรากินกันนั้นแบ่งออกได้เพียงหยิบมือ ได้แก่ สัตว์ปีก ไม่ว่าจะเป็น เนื้อไก่, เป็ด, ห่าน, นกกระทา ฯลฯ เนื้อหมู เนื้อวัว แพะ แกะ เป็นต้น แต่! รู้รึเปล่าว่าประชากรโลกรวมถึงคนไทยนั้นบริโภคเนื้อหมูมากที่สุด แล้วทำไมถึงต้องเป็นเนื้อหมู อย่างอื่นไม่ได้หรอ?
ต้องขอเท้าความก่อนว่า หมูนั้นเป็นสัตว์ที่อยู่คู่กับคนมาตั้งแต่อดีตกาลของคนในยุคล่าสัตว์ หันมาทำการเกษตรกรรมเมื่อหนึ่งหมื่นปีก่อนกันทีเดียว เนื่องจากการเพิ่มจำนวนของประชากรทำให้สัตว์ป่าไม่เพียงพอต่อการบริโภค คนจึงต้องหันมาทำการเกษตร และเลี้ยงสัตว์นั้นเอง
ซึ่งสัตว์ที่มนุษย์เริ่มเลี้ยงนั้นมีอยู่ 3 ชนิด ได้แก่ แพะ, วัว และหมู แต่หมูนั้นเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย โตเร็วและแพร่พันธุ์ไว อีกทั้งยังสามารถปล่อยให้หากินเองได้ รวมถึงความสามารถที่ว่า ‘กินง่าย อยู่ง่าย’ ทำให้หมูสามารถกินได้สารพัดอย่างไม่ว่าจะเป็นเศษอาหาร สิ่งปฏิกูล เป็นต้น ทำให้มีการนำ “เนื้อหมู” มาใช้บริโภคกันมากทั่วโลก อีกทั้งขึ้นกับวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ของแต่ละประเทศ เช่นในประเทศยุโรปมีการบริโภค ไม่ว่าจะเป็นการทำสเต๊ก เนื้อบด เบอร์เกอร์ รวมไปถึงการทำ ‘ไส้กรอก’ เพื่อใช้ถนอมอาหาร ส่วนทางฝั่งเอเชียก็มีวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคเนื้อหมูไม่แพ้กัน ยกตัวอย่างให้เห็นชัดคือ เทศกาลตรุษจีนที่มีการไหว้เจ้า เราทุกคนก็คงต้องเห็นเมนูหมูที่ใช้เพื่อไหว้เจ้า ไหว้บรรพบุรุษกันใช่มั้ยล่ะ?

กราฟที่ 1 – แสดงผลการสำรวจอัตราการบริโภคเนื้อสัตว์แต่ละประเภทของประชากรในปี 1961 – 2018
ผลการสำรวจของ Global Change Data Lab พบว่าแนวโน้มการบริโภคเนื้อสัตว์ของประชากรโลกนั้นเพิ่มขึ้นในทุกปี โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ปีกที่มีอัตราการบริโภคสูงถึง 127.31 ล้านตัน ส่วนเนื้อหมูมีอัตราการบริโภครองลงมาคือ 120.88 ล้านต้นในปี 2018 (กราฟรูปที่1)และอีกผลการสำรวจเก็บข้อมูลอัตราการบริโภคเนื้อสัตว์ของคนไทยในปี 2021ที่ผ่านมาของ Statistic พบว่า ‘คนไทยนั้นบริโภคเนื้อหมูสูงถึง 9.87 กิโลกรัมต่อหัวเลยทีเดียว!’ (กราฟรูปที่2)
กราฟที่ 2 – แสดงอัตราการบริโภคเนื้อสัตว์ของคนไทยต่อหัวในปี 2021
จากผลการสำรวจของทั้งคู่แสดงให้เราเห็นว่า คนทั่วโลกนั้นนิยมบริโภคเนื้อหมูกันมากใกล้เคียงกับปริมาณสัตว์ปีกที่คนนิยมบริโภคมากที่สุด ถึงแม้เนื้อไก่จะสามารถบริโภคได้ทุกศาสนาต่างจากเนื้อหมูที่บางศาสนามีข้อบังคับห้ามบริโภคก็ตาม อ่านมาถึงตรงนี้แล้วทุกคนคงตระหนักได้ว่า “เนื้อหมู” นั้นเป็นเนื้อยอดฮิตที่คนนิยมบริโภคกัน เพราะงั้นราคาหมูแพงจึงกระทบกับเรามากพอสมควร ซึ่งตอนนี้ก็ใช่ว่าแค่ในไทยจะประสบปัญหานี้ประเทศเดียว
“หมูแพง” เพราะอะไร แล้วกระทบกับเราขนาดไหน?
ช่วงนี้ ถ้าเราไปเดินตลาด หรือเล่นโซเชียลคงเห็นข่าวการขึ้นราคากันทุกวัน ตั้งแต่ข่าวร้านอาหารขึ้นราคาเมนู, ยกเลิกขายเมนูหมู หรือกระทั่งปิดร้านเพราะสู้ราคาหมูไม่ไหว
ซึ่งจากผลกระทบเหล่านี้หลายคนคงสงสัยว่า ทำไมหมูถึงขึ้นราคาพุ่งขนาดนี้ เราเลยมาขอสรุปให้ฟังเป็น 3 สาเหตุหลัก แบ่งได้ดังนี้
1. ปัญหาการเลี้ยงหมู
เรื่องโรคระบาดถือเป็นปัญหานึงที่เป็นปัญหาใหญ่ของชาวเกษตรกรรม และคนเลี้ยงสัตว์กัน เหมือนเช่นข่าวการระบาดครั้งใหญ่ของไข้หวัดนก ทำให้เกิดการสูญเสียจำนวนมากของรายได้ จนตอนนี้มาถึงคิวของหมูที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อ ‘โรคอหิวาต์แอฟริกัน’ หรือ Africa Swine Fever; ASF ที่มีการแพร่ระบาดมาตั้งแต่ช่วงเดือนพฤษภาคมปีที่ผ่านมาจนหลายประเทศปฏิเสธการนำเข้าเนื้อหมูของไทย จนทำให้ฟาร์มหมูในไทยสูญเสียไปถึง 30%! ซึ่งในตอนนี้ก็ใช่ว่าจะกระทบแค่กับเราประเทศเดียว แต่กระทบกันหมดในแถบเอเชีย อีกทั้งยังมีปัญหาต้นทุนการเลี้ยงหมูที่แพงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นค่าอาหารของหมู หรือราคาของลูกหมูที่ซื้อเนื่องจากนายทุนขึ้นราคา สภาพแวดล้อมช่วงหน้าร้อนปีที่ผ่านมาทำให้หมูโตช้ากว่าปกติ เป็นต้น
2. พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป
“คลายล็อกดาวน์เหมือนคลายความกังวล” หลังที่เรา ๆ ต้องอยู่แต่ในบ้านมานานย่อมต้องรู้สึกเบื่อหน่าย อยากกลับไปเที่ยวกับเพื่อน ไปนั่งเม้ามอยแบบเห็นหน้าค่าตากันเหมือนปกติแบบสไตล์ New Nomal ก็ตามทำให้ความต้องการในการบริโภคเนื้อหมูเพิ่มขึ้น เช่นมาจากการที่โรงเรียนเปิดให้กลับมาเรียนตามปกติแบบ On-site, การกลับมาเปิดร้านอาหารต่าง ๆ ทำให้เกิดภาวะการจ้างงานมากขึ้นทำให้ภาวะการค้าขายคล่องตัวขึ้นระดับนึง
3. ภาวะเศรษฐกิจ
อันที่จริงตอนนี้นอกจากราคาหมูแพง เราก็คงเห็นข่าวคราวการขึ้นราคาของอย่างอื่นตามมาติด ๆ ไข่ไก่ เนื้อไก่ ค่าทางด่วน ค่าขึ้นเรือคลองแสนแสบ และค่าแก๊สหุงต้ม ค่าไฟที่จ่อคิวเหมือนจะรอขึ้นราคาอยู่กลาย ๆ ซึ่งการที่สินค้าขึ้นราคานั้นเกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะเงินเฟ้อ แต่! เราเกิดภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวด้วยนี่สิ จนกลายเป็น “Stagflation”
“Stagflation” คืออะไร? ภาวะนี้ถือเป็นภาวะที่ผิดปกติทางเศรษฐศาสตร์ เพราะเป็นการรวมกันระหว่าง เศรษฐกิจชะลอตัว ที่มีการจ้างงานลดลง (Stagnation) และภาวะเงินเฟ้อที่ราคาสินค้าขึ้น (inflation) แต่การที่ราคาสินค้าขึ้นนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุจนหลายคนอาจโทษว่าทำไมต้องขึ้นราคาด้วย ซึ่งจริง ๆ แล้วการเกิดภาวะเงินเฟ้อนั้นบ่งบอกการขยายตัวของเศรษฐกิจ ที่จะเกิดการจ้างงานสูงขึ้น อัตราเงินเฟ้อก็จะสูงขึ้นตาม แต่เรากลับเจอเศรษฐกิจชะลอตัวและการจ้างงานลดลงแทนนี่สิ จนเกิด ‘ค่าเงินลดลง’ พูดง่าย ๆ คือการที่เรามีเงินเท่าเดิมแต่ซื้อสินค้าได้น้อยลง
จากสาเหตุที่เราเล่ามาให้ฟังทั้งหมด ทำให้ปริมาณหมูในท้องตลาดน้อยลงแต่ความต้องการยังคงเดิม และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นด้วยทำให้เกิดกฎของ Demand & Supply ที่ว่าของจะแพง เมื่อคนมีความต้องการมากนั้นเอง ทำให้ตอนนี้ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดก็คงหนีไม่พ้นธุรกิจร้านอาหาร ผู้ประกอบการขายเนื้อหมูปลีก ตลอดจนผู้บริโภคอย่างเราที่ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น แต่รายได้ยังคงเท่าเดิม..
โจทย์ใหญ่ของรัฐบาล – เมื่อหมูแพงในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว
ปัญหาหมูแพงตอนนี้ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ เพราะทุกภาคส่วนต่างให้ความเห็นเดียวกันว่า “ปัญหานี้เป็นวิกฤตเศรษฐกิจที่ดูจะกระทบลากยาวไปจนถึงกลางปี หรือยาวกว่านั้น!” ที่ภาครัฐ กรมปศุสัตว์ และกระทรวงอื่น ๆ ควรเข้ามาร่วมแก้ไขกันอย่างจริงจัง ถึงแม้การแก้ปัญหาโดยการ ใช้วัตถุดิบอื่นแทนการใช้หมู หรือการนำเข้าเนื้อหมูจากประเทศอื่นก็คงฟังดูจะแก้ปัญหาได้ แต่วิธีการนี้เป็นการแก้ปัญหาแบบระยะสั้นเท่านั้น เพราะถ้าเกิดปัญหานี้เราจะวนลูปกลับมาแก้แบบเดิมอย่างนี้อีกครั้ง? รวมถึงการควบคุมราคาหมูให้ยุติธรรมก็อาจฟังดูเป็นการแก้ปัญหาที่ตอบโจทย์ แต่เมื่อภาวะเศรษฐกิจขยายตัว การเกิดภาวะเงินเฟ้อย่อมเกิดตามมา แล้วเราจะควบคุมราคาให้อยู่ในเรตเดิมตลอดไปน่ะเหรอ แต่จะดีกว่ามั้ย? ถ้าเราแก้ปัญหาระยะยาวอย่างการเพิ่มรายได้และกำลังซื้อมากให้ประชาชน หรือทำให้เกษตรกรเลี้ยงหมูโดยไม่ผ่านคนกลาง เพื่อให้คนเลี้ยงได้ลดต้นทุนและได้รายได้ทั้งหมดแบบเต็มคำ ซึ่งตอนนี้กรมปศุสัตว์และกกร.ก็กำลังวางมาตรการแก้ปัญหาเรื่องนี้กันอยู่ เราก็คงต้องรอดูกันต่อไป
ถ้าอยากติดตามบทความดีๆ สามารถไปอ่านต่อได้ที่ link
Contact US
Line Official : https://lin.ee/Qtmh0wh
Instagram :
E – mail : masterplanmedia.th@gmail.com
Tel : 090 – 950 – 5544
ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก Brandbuffet. Pitchameat. Thairath