กระแสที่ร้อนแรงในตอนนี้ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าคงหนีไม่พ้น การเลือกตั้ง ผู้ว่ากทม. ที่ต่างเปิดตัวผู้สมัครกันอย่างครึกครื้น และถูกเป็นที่จับตามองของใครหลาย ๆ คน เพราะเนื่องจากเป็นการเลือกตั้ง ผู้ว่ากทม. ที่ไม่ได้มีมานานกว่า 9 ปี ทำให้ประชาชนในเขต กทม. และประชาชนทั่วไปค่อนข้างจับตามอง ให้ความสนใจ วันนี้ Masterplan Media จะพามาส่อง Personal Branding ของผู้สมัครแต่ละคนว่าเป็นอย่างไรบ้าง มีจุดดีจุดแข็งอย่างไรกันบ้าง และมีแนวคิดนโยบายต่างอย่างไรบ้าง ในการพัฒนา กทม. ไปดูกันเล๊ยยยยย
Personal Branding คือ การนำเสนอภาพลักษณ์ข้อมูลของเราให้ไปเกิดภาพจำต่าง ๆ ให้ผู้อื่นรับรู้ ผ่านวิธีการเล่าเรื่อง หรือตัวตนที่สร้างขึ้นมา การวางตัว บุคลิกที่แตกต่างทำให้เราสามารถเป็นที่จดจำของกลุ่มคนทั่วไปได้ และเกิดเป็นการจดจำที่ดีต่อตนเองหรือแบรนด์นั้นเอง
ในการเลือกตั้ง ผู้ว่ากทม. ครั้งนี้ ผู้สมัครหลาย ๆ คนเองก็ต่างที่จะต้องสร้าง Personal Branding ให้โดดเด่นแตกต่างกันไป โดยมีวิธีการและกลยุทธ์ที่แตกต่างกันออกไป เพื่อพิชิตใจของประชาชนให้ได้มากที่สุด และการสร้าง Personal Branding ของแต่ละคนจะเป็นอย่างไรกันบ้าง และมีอะไรบ้างที่จะดึงดูดมัดใจให้กับประชาชน
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์
ผู้สมัครหมายเลข 8 “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์”
มาพร้อมกับจุดยืน “เข้าใจ มุ่งมั่น ทำงาน” และนโยบาย “มุ่งหน้า พัฒนา 9 ด้าน 9 ดี” คือ บริหารจัดการดี ปลอดภัยดี สุขภาพดี สิ่งแวดล้อมดี เรียนดี เดินทางดี โครงสร้างดี เศรษฐกิจดี สร้างสรรค์ดี เราต้องเดินหน้าพัฒนาเมืองทั้ง 9 ด้านไปพร้อมกัน ด้วยความโปร่งใส ไม่ส่วย ไม่เส้น ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม และ เดินหน้าทันที
เฟซบุ๊คแฟนเพจ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ มีช่องทางการติดตาม 926,239 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 7 เม.ย. 65)
และมีเว็บไซต์ www.chadchart.com ที่จะลงข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายทั้งหมด และมีถามตอบข้อสงสัยต่าง ๆ อีกด้วย
Twitter @chadchart_trip มีการติดตาม 151,491 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 7 เม.ย. 65) มีแฮชแท็กในการค้นหาประจำตัวคือ #ชัชชาติ #ชัช8าติ
ลักษณะ Personal Branding ของ “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” จะให้ความรู้สึกเป็นคนที่แข็งแกร่ง ได้มากจากกระแสที่ตนนั้นได้เดินไปซื้อของแล้วไม่ใส่รองเท้า และอีกหลาย ๆ เหตุการณ์ที่ผู้คนในโลกออนไลน์มักจะยกไปเปรียบเทียบ อาทิ เมื่อชัชชาติวิดพื้น เขาไม่ได้ดันตัวเองขึ้น แต่เขากดโลกลง , ชัชชาติ ไม่ได้อายุมากขึ้น เขาเลเวลอัพ เป็นต้น จนเป็นที่มาของ ชัชชาติ สุดยอดแห่งความแข็งแกร่ง แต่ในการเลือกตั้งผู้ว่า กทม. ครั้งนี้ Personal Branding ของ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ จะให้ความรู้สึกที่เป็นกันเอง ทั้งในชีวิตปกติและโลกออนไลน์ ให้ประชาชนทั่วไปรู้สึกสามารถเข้าถึงได้ง่าย พร้อมเป็นที่พึ่งให้กับพี่น้องชาว กทม. ในทุกช่วงเวลา มีความสุขุม พูดน้อยทำจริง ดูจริงใจ และได้รับความนิยมจากฐานแฟนคลับในโซเชียลอย่างมากอีกด้วย สื่อออนไลน์ของ ชัชชาติ ทั้งช่องทาง Facebook และ Twitter จะนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับแนวนโยบายต่าง ๆ ที่จะพัฒนา กทม. นำเสนอข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ใน กทม. และการไลฟ์สดลงพื้นที่ในการหาเสียง เป็นต้น
สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์
ผู้สมัครหมายเลข 4 “สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์”
มาพร้อมกับนโยบาย “เปลี่ยนกรุงเทพ #เราทำได้” ที่เป็นจุดยืนหลักของตัวผู้สมัครเอง โดยหากได้รับเป็นผู้ว่า กทม. พร้อมที่จะเปลี่ยนให้ กรุงเทพเป็นเมืองสวัสดิการต้นแบบของอาเซียน ได้แน่นอน
เฟซบุ๊คแฟนเพจ เอ้ สุชัชวีร์ มีช่องทางการติดตาม 6.7 แสนคน (ข้อมูล ณ วันที่ 7 เม.ย. 65) มีแฮชแท็กในการค้นหาประจำตัวคือ เปลี่ยนกรุงเทพ #เราทำได้
และมีเว็บไซต์ www.suchatvee.org ที่จะลงข้อมูลเกี่ยวกับประวัติ และผลงานต่าง ๆ ของตัวผู้สมัครเอง
Twitter @AESUCHATVEE มีการติดตาม 4,360 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 7 เม.ย. 65)
ลักษณะ Personal Branding ของ สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ในการเลือกตั้งผู้ว่า กทม. ครั้งนี้ จะมีความเป็นผู้นำทางด้านนวัตกรรม เป็นคนบริหารรุ่นใหม่ มีความทันสมัย กล้าคิด กล้าทำ กล้าพูด และเคยผ่านงานดำรงตำแหน่งอธิการบดีมาก่อน จะให้ความรู้สึกที่จริงใจ พร้อมในการเปลี่ยนแปลงกรุงเทพให้ไปในทางที่ดีขึ้น การแต่งตัวด้วยเสื้อยืดเเละมีสูทสวมทับอยู่ด้านนอกให้ความรู้สึกที่เป็นทางการ เรียบร้อย แต่ประชาชนก็ยังสามารถเข้าถึงได้อยู่ สื่อออนไลน์ทั้งในช่องทาง Facebook และ Twitter จะมีการนำเสนอเนื้อหาที่เกี่ยวกับ นโยบายแนวทางการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ , การไฟล์สดลงพื้นที่หาเสียง เป็นต้น
อัศวิน ขวัญเมือง
ผู้สมัครหมายเลข 6 “อัศวิน ขวัญเมือง”
มาพร้อมกับนโยบาย “กรุงเทพต้องไปต่อ” สานต่อกับโดยให้ความหมายของการไปต่อ คือ “ไปต่อจากที่ทำไว้แล้ว ” อาทิเช่น ไปต่อเพื่อสร้างความสะดวกในทุกการเดินทาง , ไปต่อ เพื่อส่งเสริมสุขภาพที่ดีให้กับ “คนเมือง” และระบบการรักษาที่มีคุณภาพมากขึ้น , ไปต่อ เพื่อเชื่อมกรุงเทพฯ สู่เมืองดิจิทัล เป็นต้น
เฟซบุ๊คแฟนเพจ อัศวิน ขวัญเมือง มีช่องทางการติดตาม 2.6 แสนคน (ข้อมูล ณ วันที่ 7 เม.ย. 65) มีแฮชแท็กในการค้นหาประจำตัวคือ #กรุงเทพฯต้องไปต่อ #อัศวินขวัญเมือง
ลักษณะ Personal Branding ของ อัศวิน ขวัญเมือง ในการเลือกตั้งผู้ว่า กทม. ครั้งนี้ จะให้ความรู้สึกจริงใจ หนักแน่น เป็นกันเองกับประชาชน เอาทุนเดิมจากการเป็นอดีตผู้ว่า กทม. มาสานต่อในแนวคิดนโยบายที่ใช้หาเสียง “กรุงเทพ ต้องไปต่อ” แต่งตัวด้วยเชิ้ตขาวสะอาดเรียบร้อยในการออกหาเสียง แสดงให้เห็นถึงความสะอาดสุภาพเรียบร้อย แต่ยังคงไว้ซึ่งความเป็นทางการ ช่องทางการใช้สื่อ Facebook จะนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ แนวทางนโยบายต่าง ๆ ในการที่จะพัฒนา กทม. , คลิปสั้นต่าง ๆ ที่พูดถึงแนวนโยบาย หรือผลงานที่ทำมาในสมัยที่เป็นผู้ว่า กทม. และการไลฟ์สดลงพื้นที่หาเสียงในเขตต่าง ๆ เป็นต้น
รสนา โตสิตระกูล
ผู้สมัครหมายเลข 7 “รสนา โตสิตระกูล”
มาพร้อมกับนโยบายหลัก ๆ คือ ไม่ต่อสัมปทานบีทีเอส ลดค่าตั๋วเหลือ 20 บาทตลอดสาย , ตั้งกองทุนหลังคาบ้านโซลาร์เซลล์ประหยัดค่าไฟ 500 บาททุกเดือน , บำนาญประชาชน 3,000 บาท เริ่มได้ก่อนที่ กทม. เป็นต้น
เฟซบุ๊คแฟนเพจ รสนา โตสิตระกูล มีช่องทางการติดตาม 2 แสนคน (ข้อมูล ณ วันที่ 7 เม.ย. 65) มีแฮชแท็กในการค้นหาประจำตัวคือ #เลือกรสนากาเบอร์7
ลักษณะ Personal Branding ของ รสนา โตสิตระกูล ในการเลือกตั้งผู้ว่า กทม. ครั้งนี้ จะให้ความรู้สึกจริงใจ และดูน่าเชื่อถือ อีกทั้งยังใส่ใจในเรื่องโซเชียล จากการทีเน้นจากการหาเสียงในโลกออนไลน์เป็นหลัก เพราะคำนึงถึงการสันจรไปมาของประชาชนเป็นหลัก ลดการขีดขวางบนทางเท้า ป้ายหาเสียงที่เราเห็นตามข้างถนนก็จะเป็นป้ายแบบ ROSANA REUSED ที่ทำจากวัสดุใช้แล้ว เป็นงานศิลป์แฮนด์เมดไม่เพิ่มขยะ ช่วยลดขยะที่จะตามมาหลังจากการเลือกตั้ง แสดงให้เห็นถึงความเอาใจใส่สิ่งแวดล้อมและเอาใจใส่ในเรื่องความปลอดภัยของประชาชนที่สัญจรบนทางเท้า
แม้จะก้าวเข้าสู่วัยที่ 68 แล้วแต่ก็พร้อมที่จะพัฒนา กทม. ให้ดียิ่งขึ้น ปราบโกงยุติคอร์รัปชั่น แสดงให้เห็นถึงความมั่นใจ ตั้งใจในการพัฒนาบ้านเมืองให้ดียิ่งขึ้น การแต่งตัวด้วยเสื้อเชิ้ตด้านในและสูทสวมทับด้านนอก แต่คงไว้ด้วยสีดำและน้ำตาลเป็นหลัก ทำให้เห็นถึงความเรียบง่ายแต่ยังคงไว้ด้วยความเป็นทางการ ช่องทางการใช้สื่อ Facebook จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับนโยบายต่าง ๆ ที่จะพัฒนา กทม. , การไลฟ์สดลงพื้นที่หาเสียงในแต่ละเขต และค่อนข้างเน้นสื่อโซเชียลในช่องทางนี้เป็นหลักในการประชาสัมพันธ์หาเสียงการเลือกตั้งในครั้งนี้ด้วย
สกลธี ภัททิยกุล
ผู้สมัครหมายเลข 3 “สกลธี ภัททิยกุล”
มาพร้อมกับแนวคิดนโยบาย กทม.more “กรุงเทพดีกว่านี้ได้” ต้องการเข้ามายกระดับคุณภาพชีวิตให้คนกรุงเทพฯ ภายใต้นโยบาย ทำให้กรุงเทพฯ ดีกว่านี้ เป็นเมืองแห่งความสุข มีบริหารจัดการที่ดี นำระบบเทคโนโลยีมาปรับใหม่
เฟซบุ๊คแฟนเพจ สกลธี ภัททิยกุล มีช่องทางการติดตาม 8 หมื่นคน (ข้อมูล ณ วันที่ 7 เม.ย. 65) มีแฮชแท็กในการค้นหาประจำตัวคือ #สกลthree #สกล3 #กทmore
ลักษณะ Personal Branding ของ สกลธี ภัททิยกุล ในการเลือกตั้งผู้ว่า กทม. ครั้งนี้ จะให้ความรู้สึก เป็นคนที่รวดเร็ว กระฉับกระเฉง คล่องแคล่วสอดคล้องกับสโลแกนหลักของตัวผู้สมัครคือ ทำทันที กทม.(more) กรุงเทพดีกว่านี้ได้ มีทุนเดิมจากการที่เป็นอดีตรองผู้ว่า กทม. ที่อยากพัฒนากรุงเทพให้ไปได้มากกว่านี้ แต่งตัวด้วยเสื้อยืดสีดำ พร้อมสกรีนหน้าอก กทม.more แสดงให้เห็นถึงความกระฉับกระแฉง คล่องแคล่ว พร้อมที่จะทำทันที สอดคล้องกับสโลแกนของตนเอง ช่องทางการใช้สื่อ Facebook จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับแนวคิดนโยบายต่าง ๆ ทั้งรูปภาพและคลิปวิดีโอ , ผลงานต่าง ๆ ที่สมัยเป็นรองผู้ว่า กทม. เป็นต้น
วิโรจน์ ลักขณาอดิศร
ผู้สมัครหมายเลข 1 “วิโรจน์ ลักขณาอดิศร”
มาพร้อมกับสโลแกนประจำตัว “พร้อมชนเพื่อคนกรุงเทพ” และนโยบาย “ 12 นโยบายสร้างเมืองที่คนเท่ากัน” ประกอบด้วย “บ้านคนเมือง” ที่อยู่อาศัยใจกลางเมืองในราคาที่ทุกคนเข้าถึงได้ , ทางเท้าดีเท่ากัน ทั้งกรุงเทพ , สร้าง ‘การศึกษา’ ที่ทุกคนวิ่งตามความฝันของตัวเองได้ เป็นต้น
เฟซบุ๊คแฟนเพจ Wiroj Lakkhanaadisorn – วิโรจน์ ลักขณาอดิศร มีช่องทางการติดตาม 6.3 หมื่นคน (ข้อมูล ณ วันที่ 7 เม.ย. 65)
Twitter @wirojlak มีการติดตาม 632,642 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 7 เม.ย. 65) มีแฮชแท็กในการค้นหาประจำตัวคือ #เมืองที่คนเท่ากัน
ลักษณะ Personal Branding ของ วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ในการเลือกตั้ง ผู้ว่ากทม. ครั้งนี้ จะให้ความรู้สึกที่จริงใจ ดุดัน กล้าทำในสิ่งที่แปลกใหม่ เพราะสโลแกนที่ชูขึ้นมาก็คือ “พร้อมชนเพื่อคนกรุงเทพ” “เมืองคนเท่ากัน” พร้อมลุยทุกปัญหาให้กับประชาชนชาว กทม. การแต่งตัวด้วยเชิ้ตขาวสะอาดเรียบร้อย ให้ความรู้สึกเป็นทางการแต่ประชาชนยังสามารถเข้าถึงได้ง่ายอยู่ สื่อออนไลน์ทั้งในช่องทาง Facebook และ Twitter จะมีการนำเสนอเกี่ยวกับนโยบายต่าง ๆ ในภาษาที่ดูจริงจัง ดุดัน ในแต่ละโพส มีการไฟล์สดในเวลาลงพื้นที่หาเสียงต่าง ๆ และนำเสนอข้อเท็จจริง ข้อมูลบางอย่างที่เป็นปัญหากับ กทม. ที่รอการแก้ไข
จะเห็นได้ว่าการสร้าง Personal Branding ของแคนดิเดต ผู้ว่ากทม. แต่ละคนจะมีความแตกต่างกันไป ทั้งรูปแบบแนวคิดนโยบาย แผนงานการบริหารในอนาคตหากได้เป็น ผู้ว่ากทม. ในตอนนี้อยู่ที่การวาง Personal Branding ของใครจะเข้าไปอยู่ในใจของประชาชนได้มากกว่ากัน และเวลาในการหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่ากทม. ก็ใกล้เข้ามาทุกขณะ การหาเสียงในก่อนช่วงโค้งสุดท้ายก็จะมีความเข้มข้นมากขึ้นแน่นอน
ถ้าอยากติดตามบทความดีๆ สามารถไปอ่านต่อได้ที่ link
Contact US
Line Official : https://lin.ee/Qtmh0wh
Instagram :
E – mail : masterplanmedia.th@gmail.com
Tel : 090 – 950 – 5544
ขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก The Matter