ในยุคที่แบรนด์ต่าง ๆ หันมาสนใจและใส่ใจสื่อออนไลน์มากยิ่งขึ้นเพื่อเข้าถึงและสื่อสารกับกลุ่มลูกค้า และแน่นอนว่าการจะสื่อสารออกไปนั้นต้องมีกระบวนการในการสร้างคอนเทนต์ตามวัตถุประสงค์ของการสื่อสารด้วย
แต่หากคุณเริ่มคิดไม่ออกว่าจะสร้างคอนเทนต์อะไรให้กับแบรนด์ หรือหัวข้อในการสื่อสารใดอาจลองหันกลับมามองข้อมูล (Data) ที่เรามีอยู่ซึ่งแน่นอนว่าทุกองค์กรมักมีข้อมูลเหล่านี้อยู่แล้ว เหลือแต่เพียงดึงออกมาใช้งานให้ได้เท่านั้นเอง
ซึ่งอาจต้องมาเริ่มกันตั้งแต่วิธีการใช้งาน Data Points เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการสร้างคอนเทนต์ และช่วยผลิตคอนเทนต์ได้ตรงใจลูกค้ามากขึ้นกว่าเดิม
แล้ว “Data Point” คืออะไร??
Data Point คือข้อมูลที่แบรนด์นำมาใช้เพื่อต่อยอดทางธุรกิจ ซึ่งแหล่งข้อมูลนั้น มาได้จากหลากหลายช่องทาง ทั้งกลุ่มลูกค้าเก่าที่เคยซื้อสินค้าและบริการไปแล้ว และลูกค้าใหม่ที่เพิ่งเข้าชมเว็บไซต์ในปัจจุบัน สาเหตุที่นักการตลาดจำเป็นต้องนำ Data Point มาใช้นั้นก็เพื่อ ช่วยวิเคราะห์กลุ่มลูกค้าแบบเชิงลึก และช่วยพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดให้แม่นยำกว่าเดิม และเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงลูกค้า ซึ่งข้อมูลที่แบรนด์สามารถนำไปใช้เพื่อธุรกิจ จำต้องอยู่ภายใต้ข้อกำหนด GDPR ของสากล และ PDPA ของไทย
( GDPR หรือ General Data Protection Regulation คือกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ในการใช้อินเทอร์เน็ต ธุรกิจ E-Commerce และแคมเปญโฆษณาในโลกดิจิทัล
และ PDPA หรือ Personal Data Protection Act คือกฏหมายที่คุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล ที่ผู้เก็บข้อมูล จำเป็นต้องรู้ถึงขอบเขตการเก็บข้อมูล )
จากนี้ เราไปดูเทคนิคการใช้ Data Points เพื่อนำไปวิเคราะห์ผลลัพธ์ และสร้างไอเดียในการเขียนคอนเทนต์กันค่ะ ว่ามีเทคนิคใดบ้าง
(ขอบคุณข้อมูลจาก stepstraining)
- ใครคือกลุ่มเป้าหมาย
แน่นอนว่าเรากำลังต้องการสื่อสารบางอย่างไปยังกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ .. แล้วใครกันหละที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย หากยังไม่ทราบหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมควรหันมามองในส่วนนี้กันก่อน
ดังนั้น Data Point สามารถช่วยหา Customer Persona หรือผู้ซื้อในอุดมคติให้คุณได้ เพื่อให้คุณได้ทราบว่าใครคือผู้อ่านบทความ และเข้าใจความต้องการของกลุ่มคนเหล่านั้น ก่อนที่เราจะเริ่มผลิตคอนเทนต์ นักการตลาดควรวิเคราะห์ Data จาก
Demographic : คือข้อมูลพื้นฐานทั่วไป เช่น อายุ เพศ อาชีพ ระดับการศึกษา ที่อยู่อาศัย Psychographic : คือความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย ทัศนคติที่มี ความเชื่อ รสนิยม พฤติกรรมการใช้โซเชียล และความชอบ
- วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาหัวข้อที่ตรงใจผู้อ่าน
ในมุมมองของผู้อ่านแน่นอนว่าพวกเขาไม่ต้องการคอนเทนต์ที่มีแต่การขาย พยายามยัดเยียดสินค้าและบริการให้พวกเขา แต่หากเราลองเปลี่ยนมาให้คุณค่า ความรู้หรือประโยชน์ที่พวกเขาได้รับแล้วรู้สึกดีกับแบรนด์ ก็เป็นเรื่องที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์แบรนด์ไม่น้อย จนอาจส่งผลต่อการขายที่ง่ายขึ้น
ลองพิจารณาจากพฤติกรรมการเสพสื่อและคอนเทนต์ของกลุ่มเป้าหมายว่าพวกเขาต้องการอะไรและอินกับอะไร เพื่อผลิตคอนเทนต์ที่มีคุณภาพ และตอบโจทย์กับกลุ่มเป้าหมาย หากหัวข้อคอนเทนต์มีจุดดึงดูด และเนื้อหามีประโยชน์ต่อผู้อ่าน แบรนด์ของท่านก็จะสามารถสร้างการรับรู้แบรนด์และสร้างยอดขายตามมา
- Organic Traffic ช่วยคุณได้
Organic Traffic เป็นการวัดผลจำนวนยอดผู้เข้าชมเว็บไซต์ หรือโพสต์ใดโพสต์หนึ่ง ที่เราต้องการประเมิณ โดยจำนวนผู้ที่เข้ามาที่หน้าคอนเทนต์หรือเว็บไซต์นั้น มาจากการค้นหาผ่านช่องทาง Search Engine
แน่นอนว่าหากเป็นเว็บไซต์ของเราเองนั้นสามารถตรวจเช็คได้ผ่านทาง ระบบ Google Analytics สามารถเข้าไปได้ที่เมนู Acquisition และเลือก Overview ในส่วนนี้จะสามารถดูรายละเอียดได้ว่ามีผู้ Search จาก Google แล้วเข้าไปยังบทความหรือสนใจคอนเทนต์ไหนของเราบ้าง มากน้อยเท่าไหร่ เชื่อว่าส่วนนี้สามารถนำมาพิจารณาเลือกหัวข้อสร้างคอนเทนต์ได้อีกมาก
- ประเมิณจาก Engagement บนโซเชียลมีเดีย
และนี่คืออีกช่องทางในการพิจารณาว่าคอนเทนต์แบบไหนปัง แบบไหนแป๊ก.. โดยสามารถวัดได้จากสิ่งที่เหล่าผู้ติดตามมีการตอบสนองต่อคอนเทนต์ที่เราเคยทำไปในอดีต เช่น Likes, Shares, Comments, Mentions เป็นต้น และนำคอนเทนต์ที่มียอด Engagement สูง ๆ มาต่อยอดได้
โดยนี้คือ Data Point ที่ทุกแบรนด์สามารถหาได้ไม่ยากจนเกินไป และสามารถนำไปต่อยอดการสร้างคอนเทนต์ให้สื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างโดนใจและจูงใจให้พวกเขาเป็นลูกค้าได้ในอนาคต หากนำไปปรับใช้กับกลยุทธ์ทางการตลาดก็เชื่อว่าแบรนด์จะเติบโตขึ้นอย่างแน่นอน
Cr.databox.com, stepstraining.co