Feature stories

“ช่องว่างของเจเนอเรชั่น” สิ่งที่แบรนด์ต้องเตรียมรับมือ

Share on facebook
Share on twitter
Share on email

หัวข้อที่น่าสนใจ

ในยุคที่โลกออนไลน์ทำให้ช่องว่างของวัยเห็นได้ชัดยิ่งขึ้น โดยข้อมูลบางส่วนระบุว่า Gen X เสพติดเฟซบุ๊กมากกว่า Gen Z และชาว Millenial กลายเป็นดาวเด่นในโซเชียลอย่าง TikTok ที่มาแรงสุด ๆ

และเมื่อ Baby Boomer ที่ไม่อยากถูกมองว่าล้าหลัง ส่วนชาว Millenial ที่ก็คิดว่าพวกฉันนั้นทันโลกยุคใหม่ ซึ่งบางส่วนเกิดจากวิกฤตโควิด-19 ที่ทำให้เรื่องนี้มองเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้นนั่นเอง เพราะมีผลกระทบต่อบรรดาธุรกิจต่าง ๆ มากมาย

เทรนด์การอยู่ร่วมกันของคนหลายเจเนอเรชั่น

ประเด็นนี้เกิดจากกลุ่มวัยสูงอายุที่ต้องการก้าวให้ทันโลกและคนวัยอื่นมากขึ้น บางส่วนมากจากการเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในชีวิตประจำวันของสื่อออนไลน์

ฉะนั้นคำว่า “คนรุ่นใหม่” อาจะไม่ใช่คำนิยามสำหรัยเด็กวัยรุ่นเท่านั้น แต่หมายถึงคนที่พร้อมจะเรียนรู้และปรับตัวกับโลกยุคใหม่ เพราะในแต่ละเจเนอเรชั่นล้วนมีความหลากหลายจนกลายเป็น MicroGeneration การถูกตีตราว่าเป็นเจเนอเรชั่นไหนอาจไม่สำคัญอีกต่อไป ตนตัวใหม่ๆ ของผู้บริโภคกลายเป็นความท้าทายของแบรนด์และธุรกิจที่ต้องปรับตัวกับทัศนคติการเลือกซื้อสินค้าและการแสดงออกที่เปลี่ยนไป

ทำตัวให้พร้อมสำหรับ “คนยุคใหม่”

ทุกสิ่งเชื่อมโยงเข้ากับดิจิทัล แบรนด์และธุรกิจที่จะเข้าไปนั่งอยู่ในใจผู้บริโภคยุคใหม่ต้องให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมของวัย และความโปร่งใสของข้อมูล เป็นเหตุเป็นผล

แน่นอนว่ายุคสมัยที่ลูกค้ามักจะต้องมอบข้อมูลบางส่วนให้แบรนด์รับรู้สิ่งสำคัญคือความเป็นส่วนตัวและโปร่งใสในการนำข้อมูลไปใช้ เพื่อตอบแทนลูกค้าด้วยสิทธิพิเศษต่าง ๆ

และเมื่อทุกคนใช้ชีวิตกันอย่างเร่งรีบสิ่งที่มักตามมาคือ “อะไรก็ได้ ที่ง่าย และรวดเร็ว” ท่ามกลางตัวเลือกมหาศาล ทำให้ราคาอาจจะไม่เป็นสิ่งแรก ๆ ที่ถูกคำนึงถึง

ฉะนั้นแบรนด์จะเป็นต้องเข้าใจคนยุคใหม่ที่อาจมีหลากหลายเจเนอเรชั่นให้มาก และตอบสนองความต้องการพวกเขาให้ง่ายที่สุด

อ้างอิง : รายงาน Future Consumer 2021 จาก WGSN.com, TCDC, thumbsup